คำถาม ผู้เช่าซื้อ ส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้อื่นถือครอบครองและใช้ประโยขน์ โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ครอบครองผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแทน หากผู้ครอบครองนำรถที่เช่าซื้อไปไว้ที่อื่นเพื่อหลบเลี่ยงมิให้ผู้เช่าซื้อติดตามยืดรถคืนได้ หรือนำไปขายต่อ เป็นความผิดฐานยักยอกหรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่9532/2554 โจทก์เป็นผู้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกทั้งสองคันจาก บริษัท ร. โดยเป็นผู้ชำระเงินค่ามัดจำและค่าประกันภัย แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อจะยังเป็นของบริษัท ร. ผู้ให้เช่าซื้อ แต่โจทก์ผู้เช่าซื้อมีกรรมสิทธิตามสัญญาที่จะครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อ แม้โจทก์จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่จำเลยยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์โดยมีเงื่อนไขให้จำเลยผ่อนชำระค่าเช่ารถแทนโจทก์ เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีผลถึงหน้าที่และความรับผิดที่โจทก์มีต่อผู้ให้เช่าซื้อ และโจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภำเรียนร้อยแก่ผู้ให้เช่าในกรณีที่มีเหตุต้องคืน ทั้งยังต้องรับผิดชดใช้ราคารถกับค่าเสียหายกรณีไม่สามารถติดตามรถคืนมาได้ การที่จำเลยเบียดบังนำรถยนต์บรรทุกที่โจทก์เช่าซื้อไปไว้ที่อื่นเพื่อหลบเลี่ยงมิให้ผู้ให้เช่าซื้อติดตามยึดรถคืนได้ก็ดี หรือนำไปขายต่อก็ดี ทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิดชอบต่อผู้ให้เช่าซื้อทางแพ่ง แสดงถึงเจตนาของจำเลยที่จะเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก
ความผิดฐานยักยอกรถยนต์ที่เช่าซื้อ เมื่อทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และได้รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อมีเพียงสิทธิครอบครองรถยนต์คันนั้นเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้เช่าซื้อเมื่อได้จ่ายค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ดังนั้นในระหว่างที่ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ หากผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อ ไปจำหน่ายจ่ายโอน ก็อาจเข้าข่ายกระทำความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352
มีคำพิพากษาฎีกาที่เป็นแนวบรรทัดฐานได้ เช่นคำพิพากษาฎีกาที่ 7727/2544 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท อ. โดยชำระเงินในวันทำสัญญาบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเดือนละงวดรวม 36 งวด หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับรถไปแล้ว จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ติดต่อกับผู้เสียหายอีกเลย บริษัท อ. จึงบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถคืน เมื่อสอบถามจำเลย จำเลยแจ้งว่าขายไปแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อและชำระเงินล่วงหน้าก็เพื่อให้ได้รถยนต์ไปไว้ในครอบครอง มิได้มีเจตนาจะชำระราคาอีก พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของบริษัท อ. ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเพียงการกระทำผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก
ฎีกา 11865/2554 "ชิงทรัพย์"
คำถาม นำรถบรรทุกของกลางเข้าไปในที่เกิดเหตุยามวิกาลเพื่อจะลักทรัพย์แล้วสำรวจที่จะลักเพื่อขนไว้บนรถบรรทุก แต่ยังไม่ได้แตะต้องตัวทรัพย์ ถือว่าลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้วหรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4938/2554 จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกนำรถบรรทุกของกลางเข้าไปจอดในบริเวณโรงงานที่เกิดเหตุซึ่งล้อมรั้วสังกะสีในยามวิกาล แล้วจำเลยที่ 2 ใช้ไฟฉายส่องไปที่มอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่บนโครงเหล็กเป็นการสำรวจทรัพย์ที่จะลักและเพื่อจะขนทรัพย์นั้นไปไว้บนรถบรรทุกของกลางที่นำเข้ามาในบริเวณโรงงานที่เกิดเหตุ แม้จำเลยที่ 2 จะยังไม่ได้แตะต้องตัวทรัพย์ แต่นับว่าใกล้ชิดพร้อมจะเอาทรัพย์ไปได้ในทันทีทันใด การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก อยู่ในขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว เพียงแต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะ บ. กับพวกพบจำเลยที่ 2 กับพวกก่อนที่จำเลยที่ 2 กับพวกจำเลยลักทรัพย์ไป การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์แล้วและเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานบุกรุก
หมายเหตุ
ทรัพย์ที่จะลักในคดีนี้เป็นสังหาริมทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามได้ แต่ถ้าสิ่งที่จะลักเป็นอสังหาริมทรัพย์ การกระทำของจำเลยน่าจะเป็นขั้นตระเตรียมการ ถ้าทรัพย์ยังไม่เคลื่อนที่ก็เป็นพยามลักทรัพย์ ถ้าเคลื่อนที่ก็ลักทรัพย์สำเร็จ
มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายาม กระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองใน สามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์ (1) ในเวลากลางคืน
มาตรา 336 ทวิ ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 334 มาตรา 335 มาตรา 335ทวิ หรือ มาตรา 336 โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือ ตำรวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือ ใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การ กระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมต้อง ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ กึ่งหนึ่ง
ฎีกา 5725/2554 อาญา พยายาม มาตรา 80 ลักทรัพย์ มาตรา 335
จำเลยที่ 1 เดินไขกุญแจรถ จยย. ไปเรื่อยๆ ประมาณ 10 กว่าคัน จนกว่าจะะไขกุญแจรถได้ การที่จำเลยที่ 1 ขึ้นไปนั่งคร่อมรถ จยย. ของผู้เสียหายเพื่อจะไขกุญแจรถแสดงว่ามีเจตนาลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจากบริเวณที่ผู้เสียหายจอดไว้ อันเป็นการลงมือลักทรัพย์แล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะเจ้าพนักงานตำรวจและผู้เสียหายมาถึงที่เกิดเหตุเสียก่อน ทำให้จำเลยที่ 1 เอารถ จยย. ของผู้เสียหายไปไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
ฎีกา 9532/2554
คำถาม ผู้เช่าซื้อ ส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้อื่นถือครอบครองและใช้ประโยขน์ โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ครอบครองผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแทน หากผู้ครอบครองนำรถที่เช่าซื้อไปไว้ที่อื่นเพื่อหลบเลี่ยงมิให้ผู้เช่าซื้อติดตามยืดรถคืนได้ หรือนำไปขายต่อ เป็นความผิดฐานยักยอกหรือไม่
คำถาม เข้าไปทำร้ายผู้อื่นในบ้านมีโต๊ะสนุ๊กเกอร์เปิดบริการให้บุคคลทั่วไปเล่นได้และขณะเกิดเหตุยังคงเปิดบริการอยู่ จะเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 364,365 หรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 540/2554 บ้านที่เกิดเหตุมีมีโต๊ะสนุ๊กเกอร์เปิดบริการให้บุคคลทั่วไปเล่นได้และขณะเกิดเหตุยังคงเปิดบริการอยู่ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่2 ในบริเวณที่บุคคลทั่วไปย่อมจะเข้าไปได้ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ. มาตรา 364 และ 365
ข้อสังเกต สถานที่ตั้งเป็น "บริเวณที่บุคคลทั่วไปย่อมจะเข้าไปได้" คำถามคือ เหตุใดจำเลยจึงไม่ผิดตามมาตรา 364 คำตอบเพราะผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวยินยอมโดยปริยายให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมถึงจำเลยเข้าไปได้ หลักมีว่า "หากผู้ครอบครองยินยอม การเข้าไปก็ไม่เป็นบุกรุก" ข้อสังเกต หากผู้ครอบครองไม่ยินยอมให้เข้าไป จึงค่อยพิจารณาว่าเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันควรหรือไม่ หากมีเหตุอันควร ก็ไม่ผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 364
เช่น ฎีกาที่ 2616/2553 บ้านของผู้เสียหายเป็นบ้านเดี่ยวปลูกอยู่ในที่ดินซึ่งมีบริเวณหน้าบ้าน การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายบอกผู้เสียหายให้เบาวิทยุที่เปิดเสียงดัง เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันควร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 364 (แม้ผู้เสียหายไม่ยินยอมให้จำเลยเข้าไป จำเลยก็ไม่ผิดมาตรา 364 เพราะ "มีเหตุอันสมควร" ในการเข้าไป)
ความผิดฐานกรรโชก ตาม ป.อ. มาตรา 337 และความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 แตกต่างกันอย่างไร
1. หลักความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 ผู้กระทำความผิดจะเริ่มจากข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่ 3 และผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น
2. การชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 จะเป็นความผิดการกระทำจะประกอบไปด้วยการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไปให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือทรัพย์นั้นไว้ ปกปิดการกระทำความผิดนั้นหรือให้พ้นจากการจับกุม
ฎีกา 3723/2554
จำเลยที่ 1 เรียกประชุมสมาชิกคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในวินของจำเลยที่ 1ซึ่งผู้เสียหายบางคนไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วยโดยจำเลยทั้งสองได้บอกให้สมาชิกทราบว่าจำเลยที่ 1 ขอเก็บเงินค่าวินจากสมาชิกคนละ 950 บาทต่อเดือน หากสมาชิกคนใดไม่ยอมจ่ายเงินให้ก็ให้สมาชิกคนนั้นกลับบ้านต่างจังหวัดไป จำเลยทั้งสองจะยึดเสื้อวินคืนกับให้ระวังตัวให้ดี คำพูดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ขืนใจให้สมาชิกทั้งที่เข้าร่วมประชุมและไม่เข้าร่วมประชุมยอมจ่ายเงินเป็นรายเดือนๆ ละ 950 บาทให้แก่จำเลยที่ 1 และไม่ให้สมาชิกบอกเรื่องที่ต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐทราบด้วย โดยการขู่เข็ญให้สมาชิกทราบว่าหากสมาชิกคนใดไม่ยอมกระทำตามที่บอกสมาชิกก็จะได้รับผลร้ายคือจะถูกยึดเสื้อวินที่สมาชิกสวมใส่ในการขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างคืน ซึ่งหมายความว่าสมาชิกคนนั้นจะไม่สามารถมาจอดรถจักรยานยนต์ของตนที่วินของจำเลยที่ 1 เพื่อรอให้ผู้โดยสารว่าจ้างอีกต่อไป อันเป็นการขู่เข็ญสมาชิกว่าจำเลยทั้งสองจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของบรรดาสมาชิก ส่วนคำว่าให้ระวังตัวให้ดีนั้นคนปกติทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นลักษณะคำพูดข่มขู่ให้คนที่ได้รับฟังให้เกิดความกลัวอยู่ในตัวว่าอาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายได้ จึงเป็นกรณีจำเลยทั้งสองขู่เข็ญสมาชิกว่าจำเลยทั้งสองจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของสมาชิก ซึ่งผู้เสียหายหลายคนยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกป.อ. มาตรา 337
ฎีกา 11052/2553
ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามบทบัญญัติของกฎหมายมิได้อยู่ที่จำนวนทรัพย์สินที่ผู้กระทำผิดได้ไปว่าจะเป็นทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน เพราะไม่ว่าคนร้ายจะได้ทรัพย์สินไปเพียงใด การกระทำความผิดก็เกิดขึ้นแล้วเช่นกัน แต่ข้อสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ต้องมีฐานเดิมจากความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 โดยคนร้ายใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าของหรือมีครอบครองทรัพย์นั้น หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้นตามความใน ป.อ. มาตรา 339 (2) โดยการลักทรัพย์กับการใช้กำลังประทุษร้ายต้องไม่ขาดตอน หรือเป็นการลักทรัพย์ที่ต้องขู่เข็ญให้ปรากฏว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อเนื่องกันไป เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ถูกจำเลยตบหน้าทันทีที่เปิดประตูห้องเมื่อ ช. ตามเข้าไปปิดประตูห้อง จำเลยก็ล้วงมีดพับออกมาจี้ที่แก้มผู้เสียหายขู่ขอเงินไปซื้อสุรา พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนั้นบ่งชี้ไปในทำนองว่าหากผู้เสียหายขัดขืนไม่ให้เงินก็จะถูกประทุษร้ายต่อเนื่องไปในทันใดนั้น แสดงให้เห็นว่ามุ่งหมายมาทำร้ายและขู่เข็ญผู้เสียหายโดยประสงค์ต่อทรัพย์มาแต่แรก ไม่ใช่เป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินบางส่วนโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามที่จำเลยฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จึงชอบแล้ว
ฎีกา 6554/2554 ?? ชิงทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 1592/2535 จำเลยกับพวกโกรธผู้เสียหาย เกิดการโต้เถียงกัน พวกของจำเลยชกต่อยผู้เสียหาย และดึงแว่นตาของผู้เสียหายออกจนหล่นที่พื้น โดยประสงค์จะแกล้งผู้เสียหาย มิได้มีเจตนาทุจริตคิดที่จะลักแว่นตาผู้เสียหายไปตั้งแต่แรก ก่อนจะหนีไป จำเลยกับพวก จึงลักเอาแว่นตาและเศษสตางค์ของผู้เสียหาย ที่หล่นจากกระเป๋าเสื้อไปในภายหลัง การกระทำของจำเลยกับพวก จึงเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายกระทงหนึ่ง และความผิดฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่ง มิใช่ความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 3608/2535 จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท.แล้วใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ ของ ร. ขับหลบหนีไป แล้วจำเลยนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่าง คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้ รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้น ไม่ผิดชิงทรัพย์ แต่เป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร. ให้มอบรถจักรยานยนต์ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย ผิด ม 309 ว 2
ฎีกา 540/2554 เหตุใดจำเลยจึงไม่ผิดฐานบุกรุก?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น