จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

***ข้อสังเกต การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ตาม วิ.แพ่ง ที่แก้ไขใหม่


1.   การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ตาม วิ.แพ่ง ที่แก้ไขใหม่ มิได้พิจารณา ว่าผู้ขอเป็นคนยากจนหรือไม่(ของเก่าต้องพิจารณา) หากแต่พิจาณาแต่เพียงว่า สถานะของผู้ร้องขอในขณะนั้น มีเงินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่เดือดร้อนเกินสมควรหรือไม่เพียงใด เท่านั้นก็เพียงพอที่ศาลจะยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้(แม้ไม่ยากจนแต่สถานะตอนนั้นมีเงินไม่เพียงพอหรือหากไม่อนุญาต แล้วจะเดือดร้อนเกินสมควร ก็ได้)
2.   กรณีผู้ขอเป็นโจทก์ ตาม วิ.แพ่ง ม.155 (เดิม) ผู้ขอต้องแสดงให้เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์มีมูล ซึ่งศาลต้องฟังข้อโต้แย้งของจำเลยซึ่งเป็นคู่ความอีกฝ่ายด้วย หรือหากจำเป็นก็ต้องไต่สวนพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย แต่ตามกฎหมายใหม่ ม.156/1 เพียงแต่ศาลเชื่อว่าฟ้องมีเหตุอันควร ก็เพียงพอแล้วที่จะยกเว้น ฯ ให้
3.   การ อุทธรณ์หรือฎีกา ตาม ม.156 วรรคห้าเดิม ผู้ขอต้องอุทธรณ์หรือฎีกาโดยทำคำขอเป็นคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้น แต่ ม.156/1 วรรคสี่ที่แก้ไขใหม่ ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์และต้องทำเป็นอุทธรณ์จะทำเป็นตำร้องอุทธรณ์คำสั่งเหมือนแต่ก่อน ไม่ได้
4.   หากศาลชั้นต้นยกคำร้อง ฯ โดยให้เหตุผลว่าผู้ร้องมีทรัพย์สินเพียงพอหรือหากไม่ยกเว้นให้ก็ไม่เดือดร้อน และฟ้องก็ไม่มีเหตุสมควร กรณีนี้หากโจทก์จะอุทธรณ์ ก็ต้องยื่นอุทธรณ์ขึ้นไปทั้งสองประเด็น หากอุทธรณ์เฉพาะประเด็นใดประเด็นหนึ่ง แต่เพียงประเด็นเดียว ประเด็นที่ไม่ได้อุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจอนุญาตให้ยกเว้น ค่าธรรมเนียมให้ได้ เพราะไม่ครบหลักเกณฑ์ ดังนั้นการวินิจฉัยอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นประโยชฯและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรวินิจฉัย

5.   กฎหมายใหม่ตัดขั้นตอนการให้ผู้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียม  สาบานตัวว่าไม่มีทรัพย์สินออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น