จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

*** วิ.อาญา มาตรา 28 มีหลักกฎหมายที่น่าสนใจเรื่องเดียวคือ***


ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา  (มาตรา  28)
ได้แก่  1) พนักงานอัยการ  2) ผู้เสียหาย
- กรณีคดีอาญาที่ผู้เสียหายหลายคน  แม้ผู้เสียหายคนหนึ่งได้ฟ้องผู้กระทำความผิดไปแล้ว ผู้เสียหายคนอื่นก็ยังมีสิทธิฟ้องผู้กรทำความผิดได้อีก  ไม่เป็นฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2543
 เช็คพิพาทถึงกำหนดภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายสิทธิตามเช็คพิพาทจึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้ทรงเช็คซึ่งเป็นทายาทผู้ตายทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคาร ตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเป็นผู้เสียหายโดยตรงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่ 3 ผู้ตายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแทนก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะร้องต่อศาลขอให้จำหน่ายคดีโจทก์ที่ 3 ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์ที่ 3 จึงชอบแล้ว
สิทธิตามเช็คพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในเช็คพิพาท โจทก์ทั้งสามคนใดคนหนึ่งสามารถที่จะฟ้องร้องให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องใช้สิทธิร่วมกันทั้งการฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสามเป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหาย มิใช่สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก การที่ศาลจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 3 เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ถึงแก่ความตายก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1และที่ 2 ต้องระงับไปไม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น