จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประมวลกฎหมายอาญา

สิ่งที่ต้องพิจารณา

จำนวนคน 2 คน 276, 277, 335(7), 339, 365(2)
3 คน 140, 190, 191, 204, 205, 294, 295, 340

5 คน 166, 210, 309 10 คน 215, 344

เพศ, อายุ 277, 278, 279-286, 293, 306, 312, 313, 317-319, 342
ฐานะ ลูกจ้างนายจ้าง 335(11), 339 สามีภรรยา 71, 193, 214
พ่อแม่ 214, 193, 327 บุพพการีผู้สืบสันดาน 71, 193, 285, 289,

เจ้าพนักงาน 147-166, 200-5,289(2)(3), 138 สส. สว. สจ. สท. 143, 144, 146, 149

พนักงานสอบสวน 167, 168, 169, 172, 173, 178, 179, 190, 191, 192, 200-2,204-5

เวลากลางคืน 335(1), 339, 365(3)
เคหสถาน 335(8), 339, 362, 364, 365
ยวดยานพาหนะ 218(5)(6), 335(9), 339, 336ทวิ, 340ตรี, 359(3)
กสิกร 335(12), 339, 359(4)
มีอาวุธ 215, 309, 335(7), 340
มีหรือใช้อาวุธ 140, 190, 191, 276, 277, 336ทวิ, 340ตรี
มีหรือใช้อาวุธปืน 340, 340ตรี, 336ทวิ
ศพ 199
โดยขู่เข็ญ, ใช้กำลังประทุษร้าย, โดยหญิงขัดขืนไม่ได้, ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนอื่น 276, 278, 279
ใช้อุบายหลอกลวง, ขู่เข็ญ, ใช้กำลังประทุษร้าย, ใช้อำนาจผิดคลองธรรม, ข่มขืนใจ 283-4,313, 320
ตัวบททุกมาตราที่อยู่ในภาคความผิดมีองค์ประกอบไม่เกิน 5 องค์ประกอบเท่านั้น

ผู้ใด ไม่ต้องท่องยกเว้น มาตรา 147-166, 200-205 เท่านั้นที่ผู้ใดต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่
การกระทำ พยายามดูให้เป็นหมวดหมู่ เช่น
มาตรา 141, 142, 158, 159, 184-188 มีการกระทำเหมือนกันคือทำให้เสียหาย…….ทำให้ไร้ประโยชน์

มาตรา 139, 140, 148, 309, 337, 338, 339, 340 เป็นเรื่องข่มขืนใจ

วัตถุแห่งการกระทำก็ดูตามสารบัญภาค 2
พฤติการณ์ประกอบการกระทำ 137, 160, 172, 188, 206, 207, 220, 221, 223, 225-231, 233, 234, 236, 237, 239, 264-9, 306,307, 322, 323, 326-7
เจตนาพิเศษ เพื่อ……..หรือโดยทุจริต(143, 147, 151, 157, 242, 269, 312, 317-319, 334-336ทวิ
339-340, 341-4, 352-3 และต้องมีองค์ประกอบภายใน(เจตนา, ประมาท, ไม่เจตนาไม่ประมาท)

มาตราที่เชื่อมโยงกัน

-ต่อสู้เจ้าพนักงาน 138, 140, 295, 296, 297, 288, 289, 371, 391

-ปลอมเอกสารใช้แก่คนทั่วไปทั่วไป 264-8, 341, 349-350 หากเจ้าพนักงานทำผิดเพิ่ม 161, 162

-ปลอมเอกสารใช้กับเจ้าพนักงาน 162, 267, 172, 173, 144, 149, 147

-ปลอมเอกสารใช้ในชั้นศาล 188, 175, 177, 267

-แจ้งความเท็จ 137, 172, 173, 177, 181

-147, 148, 151, 157, 352, 354

-142, 184, 158, 188, 200, 334, 358

-177, 180, 184

-157, 200, 184, 199

-148, 337, 149, 157

-309, 337, 338, 339, 340

-310, 313

-358, 188, 334

-326, 393

การใช้กฎหมายอาญา

ม 2, 3 (มีกฎหมายมีโทษจึงต้องรับโทษ, ตีความโดยเคร่งครัด 1880/42, ไม่ย้อนหลังยกเว้น 5 กรณี)
ทำผิดในหรือถือว่าในราชอาณาจักร ม 4,5,6,11 ต.ป.ท. ลงหรือปล่อยแล้วไทยลงได้อีกยกเว้น 11ว2
ทำผิดในต่างประเทศ ม 7(2)(3),8,9,10 ต.ป.ท. ลงหรือปล่อยแล้ว ไทยลงอีกไม่ได้
ทำผิดในต่างประเทศ ม 7(1)(2ทวิ) ต.ป.ท. ลงหรือปล่อยแล้ว ไทยลงอีกได้
โครงสร้างความรับผิดทางอาญา

การกระทำ(คิด, ตกลงใจ, ทำ)รวมการงดเว้น(หน้าที่ตามกฎหมาย, ยอมรับ, ทำครั้งก่อน, ความสัมพันธ์)
องค์ประกอบภายนอก
-ผู้กระทำ (ทำเองหรือทางอ้อม)

-ครบองค์ประกอบภายนอก-ขาดองค์ประกอบ-ขาดเจตนา

องค์ประกอบภายใน
-เจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลหรือเจตนาโดยพลาด

-สำคัญผิด ม 62 (ต้องครบองค์ประกอบภายนอก,ครบองค์ประกอบภายใน,ความจริงเป็นผลร้าย)

-ประมาท (บุคคลในภาวะ วิสัย พฤติการณ์เช่นเดียวกับนาย…….ไม่อาจใช้หรือใช้ความระมัดระวัง)

-ไม่เจตนาไม่ประมาท

ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล (ใช้เฉพาะความผิดที่แยกผลออกจากการกระทำได้)
-ผลโดยตรง (ไม่มีการกระทำของนาย….ผลไม่เกิด) ม 288, 289, 290 ใช้ผลโดยตรง

-ผลธรรมดา ม 63 ใช้กับ ม 224, 233, 238, 280, 291, 297, 300, 302, 303, 308, 310, 313, 336, 339, 340 จะมีคำว่า “เป็นเหตุให้” ม 63 ต้องเป็นผลธรรมดาก่อนจึงค่อนพิจารณาว่าวิญญูชนคาดหมายได้หรือไม่

-เหตุแทรกแทรง (เกิดจาก-ธรรมชาติ, -ผู้ทำผิด, -ผู้เสียหาย, -บุคคลที่ 3)

กฎหมายที่ยกเว้นความผิด
-ความยินยอม(ยินยอมที่ขาดองค์ประกอบความผิด, ยินยอมที่ครบองค์ประกอบแต่ยกเว้นความผิด)

-ป้องกัน (ภัยนั้นต้องละเมิดกฎหมาย, ภัยต้องใกล้จะถึง, เพื่อป้องกันสิทธิ, สมควรแก่เหตุ)

กฎหมายยกเว้นโทษ
-จำเป็น (67(1) อยู่ในที่บังคับเลือกที่จะทำผิดไม่ได้ 67(2) มีภัยเลือกทำผิดได้) และสมควรแก่เหตุ

ข้อสังเกต ถ้าภัยนั้นละเมิดกฎหมาย 1) ทำต่อผู้ก่อภัยเป็น 68 2) ทำต่อผู้อื่นเป็น 67

ถ้าภัยนั้นไม่ละเมิดกฎหมายทำต่อใครก็เป็น 67 ยกเว้นจะไปอ้างสำคัญผิดว่าเป็น 68, 62

-มาตรา 73, 74, 65, 66, 70, 71, 82, 88, 105, 106, 330, 304, 182

ตัวการ, ผู้ใช้, ผู้สนับสนุน
พยายาม (ทฤษฎีความใกล้ชิดต่อผล คือ ถ้าผู้กระทำผิดกระทำการขั้นสุดท้ายที่ต้องกระทำสำหรับความผิดนั้นหรือส่วนหนึ่งของการกระทำขั้นสุดท้ายถือว่าใกล้ชิดต่อผลเป็นการลงมือกระทำความผิดประมาท ละเว้น ไม่มีพยายาม
พยายามเป็นผู้ใช้ ผู้สนับสนุนไม่มี แต่ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนในความผิดฐานพยายามมีได้

กรรมเดียวหลายกรรมต้องระวังด้วย (พรากผู้เยาว์เป็นอีก 1 กรรมเสมอ)
ข้อสังเกต ข้อสอบอาญาของอัยการจะออกความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ทุกปี ไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ข้อ

ข้อสอบเกี่ยวกับชีวิตมาตรา 295-7, 288-91 ออกแทบทุกปี ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ข้อ

ข้อสอบเกี่ยวกับมาตรา 4-11 ก็ออกเป็นประจำทั้ง ๆ ที่ไม่มีฎีกา

ข้อสอบเกี่ยวกับมาตรา 240-8, 264-8, 326-333 ก็ออกปีเว้นปี

ข้อสอบเกี่ยวกับเจ้าพนักงานก็มักจะออกเรื่องแจ้งความเท็จ, สินบน, ปลอมเอกสาร, 188

ข้อสอบเกี่ยวกับอั้งยี่ ซ่องโจร เกี่ยวกับเพศ เผลอ ๆ ก็มีออกบ้าง

ข้อสอบเกี่ยวกับอาญามักออกสอบในตัวบทที่ไม่ยาก แต่จะยากตรงที่มีประเด็นมากและความละเอียดและส่วนใหญ่ก็ไม่เน้นฎีกา แต่จะเน้นตัวบทที่ต้องใช้เมื่อท่านต้องมาเป็นอัยการผู้ช่วย ดังนั้นถ้าท่องตัวบทได้แม่น ๆ ในส่วนของอาญาไม่มีปัญหา ทั้งนี้เลือกท่องเฉพาะมาตราที่สำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น