จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

*** วิ.อาญา มาตรา 29 ออก ข้อสอบเป็นประจำ เน้นให้เข้าใจ (ส่วนฎีกาที่น่าสนใจ มี 2 ตัว



ผู้เสียหายฟ้องคดีแล้วตายลง (มาตรา 29)
หลักเกณฑ์   เมื่อผู้เสียหาย(ที่แท้จริง) ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้ 
ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมผู้อนุบาล หรือผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว    ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ 
-  ตามมาตรา  29   เป็นกรณีที่ผู้เสียหายที่แท้จริงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเอง  และน่าจะรวมถึงกรณีที่ผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการแล้วตายลงด้วย 
- **  การเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายนี้  ผู้เสียหายต้องได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนตายลงเท่านั้น ไม่รวมถึงการแจ้งความร้องทุกข์โดยยังไม่ฟ้องคดีด้วย   ดังนั้นการที่ผู้เสียหายเพียงแต่แจ้งความร้องทุกข์ไว้ท่านั้น บุคคลตามมาตรา 29  ไม่มีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้ (ฎ. 5162/47)
- ผู้เสียหายที่ฟ้องคดีแล้วตายตามมาตรา  29 นี้  หมายถึงตัวผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทนด้วย  ถ้าผู้จัดการแทนถึงแก่ความตาย บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี หรือภริยาของผู้จัดการแทน จะดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา  29 ไม่ได้  (ฎ. 1187/43, 2331/21) 
- ** ตามมาตรา  29 นี้  ผู้เสียหายจะต้องได้ฟ้องคดีไว้แล้วตายลง  ถ้าผู้เสียหายตายเสียก่อนฟ้องคดี อำนาจฟ้องคดีไม่เป็นมรดกตกทอด ไม่เข้ากรณีมาตรา  29 นี้  (ฎ. 3395/25, 2219/21)
- ผู้บุพการี และผู้สืบสันดาน ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตาย ตามมาตรา  29  หมายถึงผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง  ( เช่นเดียวกับบุพการี และผู้สืบสันดาน ตามมาตรา  5(2) )   ดังนี้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่อไปได้  และถ้าบุตรยังเป็นผู้เยาว์อยู่  มารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา  56  ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15  โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน(ฎ. 5119/30)     กรณีถ้าเป็นสามี ภริยา ของผู้เสียหาย ตามมาตรา 29 วรรคแรกนี้  น่าจะต้องเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (เทียบ ฎ. 1056/03)  ในมาตรา  5(2))  ดังนั้น ตาม ฎ. 5119/30  นี้  ภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของของผู้เสียหาย (มารดาของผู้เยาว์)  จึงไม่อาจเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายในฐานะภริยาของผู้ตายได้  แต่ที่เข้ามาในคดีได้ก็เนื่องจากเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหาย  ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา  56  ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา  15
- **  ผู้ที่มีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา  29  มีเฉพาะผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี และภริยา เท่านั้น   ดังนี้   พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตาย  (ฎ. 2242/33) 
 - มาตรา  29 วรรคแรก เป็นเรื่องผู้เสียหายที่แท้จริงยื่นฟ้องแล้วตายลง  ส่วนมาตรา 29 วรรคสอง เป็นกรณีผู้แทนโดยชอบธรรมฯ หรือผู้แทนเฉพาะคดี เป็นผู้ยื่นฟ้องแทนผู้เสียหายไว้แล้วผู้เสียหายนั้นตายลง   ผู้ฟ้องคดีแทนจึงว่าคดีต่อไปก็ได้    
-    เฉพาะกรณีผู้แทนเฉพาะคดีจะดำเนินคดีต่อไปได้ตามมาตรา  29 วรรคสองนี้  ต้องเป็นกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายตามมาตรา 6 ไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายจะตายลง  ถ้าผู้เสียหายตายระหว่างการร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี  ผู้นั้นจะดำเนินคดีต่อไปไม่ได้  (ฎ. 3432/36, 1625/32)
- บทบัญญัติมาตรา 29 นำไปใช้ในกรณีร้องขอให้ปล่อยเนื่องจากการคุมขังผิดกฎหมายตามมาตรา  90 ด้วย  (ฎ. 392/22)  และนำไปใช้กับกระบวนพิจารณาในชั้นร้องขอคืนของกลางได้ด้วย  (ฎ. 1595/28)
- บิดาฟ้องมารดาเป็นจำเลย ผู้สืบสันดานของจำเลยจะขอรับมรดกความไม่ได้ เพราะเป็นคดีอุทลุม (ฎ. 1551/94 ป.) 
- การขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปตามมาตรา  29 นี้   มิได้กำหนดเวลาไว้  จะนำระยะเวลาการรับมรดกความในคดีแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี  ตาม ป.วิ.พ. มาตรา  42  มาใช้บังคับไม่ได้ (คร.1595/28) 
- ผู้ที่ได้รับมรดกความอาจไม่ดำเนินคดีต่อไป แต่ขอให้ศาลจำหน่ายคดีก็ได้  (ฎ. 3619/43) 
- กรณีที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลงนั้น  กฎหมายไม่ได้บังคับให้บุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา  29  ต้องเข้ามาดำเนินคดีต่างผู้ตาย  ถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาเลย กรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วม  ก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะพนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไปได้  แต่ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ถ้าการตายของโจทก์ไม่เป็นเหตุขัดข้องในการดำเนินคดีต่อไป  ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้ เช่น กรณีที่โจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ซึ่งไม่ต้องมีการพิจารณาสืบพยานกันอีก  ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็พิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ (ฎ. 814/20 ป., 1244/04)
- ในคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ตายหลังจากศาลฎีกาส่งคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นอ่าน แม้ไม่มีผู้รับมรดกความ คดีก็ไม่ระงับไป (ฎ. 217/06 ป.) เพราะถือว่า ดำเนินคดีมาครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น