จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

(ขอขยายระยะเวลาได้ ก่อนสิ้นเวลานั้น ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษ พฤติการณ์พิเศษ คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คู่ความ หรือศาลไม่สามารถปฏิบัติได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นๆ)(โดยพี่ดาว)

พฤติการณ์พิเศษ และ เหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2548

ป.วิ.พ. มาตรา 23
สำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้ในการเรียงอุทธรณ์เพราะผู้เรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นอาจไม่เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15////
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545
(เหตุสุดวิสัย หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลา หรือเหตุที่ทำให้คู่ความไม่สามารถมีคำขอมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้)**คือมีพฤติการณ์พิเศษที่จำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาแล้ว แต่ก็มีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่อาจขอได้ก่อนสินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด*******
ป.พ.พ. มาตรา 8
ป.วิ.พ. มาตรา 23
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์แถลงขอคัดสำเนาในวันรุ่งขึ้นต่อมาอีก 1 เดือนโจทก์ยื่นคำร้องว่ายังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแต่กำหนดวันให้น้อยกว่าที่โจทก์ขอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วมิได้ เหตุที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของโจทก์ หากแต่เกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สองก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่สองต่อไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น