สรุปกฎหมายลักษณะพยาน
จำเลยบางคนยอมรับข้อเท็จจริง
แต่จำเลยอื่นขาดนัดพิจารณาหรือสู้คดี
ศาลจะฟังข้อเท็จจริงให้มีผลถึงจำเลยอื่นไม่ได้ เช่น จำเลยที่ 1 รับว่าประมาท
ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันปฏิเสธ โจทก์ต้องสืบในส่วนของจำเลยที่ 2 หรือ จำเลยที่
2 ขาดนัด โจทก์ก็ต้องสืบว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง
สำหรับกรณีที่ไม่ต้องสืบพยาน ศาลนำคำรับมาตัดสินได้
แม้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก็ตาม เช่น จำเลยรับว่าทำเอกสารถึงโจทก็มีหนี้อยู่ 2
ล้านบาท
-คำให้การปฏิเสธไม่ชัดแจ้งหรือไม่กล่าวถึงข้อใด
ถือว่ายอมรับ (177 ว.2) เช่น สู้ว่า ไม่มีหนังสือเลิกสัญญาเช่า เท่ากับรับว่า
บอกเลิกด้วยวาจา สู้ว่า ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อ ไม่มีประเด็นเรื่องตราประทับ
สู้ว่านอกจากที่ให้การถือว่าปฏิเสธ ไม่ทราบ ไม่รับรอง ไม่สู้ว่าปลอมอย่างไร
ส่วนไหน เหล่านี้ถือว่ารับข้อเท็จจริงตามฟ้อง แต่บางเรื่อง เหตุแห่งการปฏิเสธขัดกันเอง
ก็ถือว่าเป็นปฏิเสธลอย แต่ไม่มีสิทธิสืบพยาน เช่น
สู้ว่าปฏิเสธหนี้ตามฟ้องถือว่าปฏิเสธ ที่ให้การต่อไปว่า
ลงชื่อในสัญญาเกิดจากหนี้ภริยาจำเลย ดังนั้น เหตุแห่งหารปฏิเสธขัดกัน
จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานตามประเด็น
-คำท้ากันในศาล ตามมาตรา 84
-คำท้าคือการรับฟังข้อเท็จจริงโดยการตกลงของคู่ความ
คำท้าไม่ขัดต่อกฎหมายก็บังคับได้
และถือว่าเป็นการรับข้อเท็จจริงตามเงื่อนไขของคำท้าตามมาตรา 84
แต่ถ้าตกลงให้ศาลวินิจฉัยคดีตามที่สืบพยานหรือตกลงถือข้อเท็จจริงในคดีอาญา
หรือให้ดูที่เกิดเหตุแล้วตัดสินไม่เป็นคำท้า เพราะเป็นการตัดสินโดยการสืบพยานของศาล
คำท้าใช้นคดีอาญาไม่ได้ เพราะศาลต้องเอาความจริง
แต่ใช้ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาได้
-การท้ากันถือเป็นการสละข้อต่อสู้อื่นๆ
แลพยานหลักฐานที่เสนอมาทั้งหมด
เมื่อท้าแล้วจะอุทธรณ์ว่าพิจารณานอกสำนวนหรือยกประเด็นตามฟ้องไม่ได้
ถือว่าไม่ได้ยกมาโดยชอบในศาลชั้นต้น เช่น ท้าว่าที่ดินอยู่ในเขตของใคร
หรือท้าเอาผลของคดีอาญาหรือท้าว่าคดีเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่
หรือมอบให้ผู้พิพากษาทั้งศาลตัดสินคดี จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
คงอุทธรณ์ได้แค่ว่าถูกต้องตามคำท้าหรือไม่เท่านั้น คดีท้ารังวัด จะนำชี้ไม่ได้
เพราะไม่ถูต้องตามหลักวิชา ท้ากันเบิกความเมื่อเบิกความแล้ว เช่น ให้พยานตอบว่า
ที่ดินโอนได้หรือไม่เท่านั้น เมื่อพยานเบิกความว่าที่ดินโอนได้
จะอ้างว่าพยานเบิกความโดยำไม่สุจริตไม่ได้
ท้าหน้าที่นำสืบก็ทำได้หรือท้าเอาผลคดีอาญาถึงที่สุด ศาลต้องรอคดีอาญาก่อน
และการท้ามีผลเฉพาะคู่ความที่ท้า ยกเว้นคดีจ้าของรวมท้ากันรังวัด
ถึงแม้ผลการรังวัดเป็นเช่นใด ก็ไม่กระทบสิทธิเจ้าของรวมอื่น
เจ้าของรวมอื่นก็ต้องผูกพัน
-กรณีไม่สามารถปฏิบัติตามคำท้าได้
ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เช่น ท้าให้คนนอกเบิกความ
แต่ไม่มาเบิกความหรือเบิกความไม่บอกว่าที่ดินของใคร
หรือท้ารังวัดแต่ไม่สามารถรังวัดได้เนื่องจากไม่มีระวางหรือหลักหมุด
ถ้าเชี่ยวชาญพิสูจน์เอกสาร แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่ลงความเห็น
กรณีทีคู่ความอีกฝ่ายทราบผลคำท้าแล้ว แถลงไม่สืบพยาน ศาลต้องตัดสินตามหน้าที่นำสืบ
ท้ารังวัด แต่จำเลยไม่ยอมให้เข้าที่ดิน ศาลสั่งให้รังวัดใหม่และห้ามจำเลยขัดขวางได้
ศาล พิพากษาตามคำท้าได้เมื่อถูกต้องตามคำท้า ถ้าไม่ตรงตามคำท้า
ศาลต้องให้คู่ความดำเนินการให้ตรงตามคำท้าก่อน เช่น
ท้ากันให้ที่ดินและปลัดอำเภอไปรังวัด แต่เอาเสมียนอำเภอไปแทนไม่ได้
ท้าตรวจลายมือชื่อ ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ใช้ได้
แต่ถ้าไม่ลงความเห็น ก็ต้องดำเนินการสืบพยานต่อไป
คู่ความที่แถลงไม่ติดใจสืบพยานไปก่อนแล้ว ก็มีสิทธิสืบพยานใหม่ได้
ทนายความที่มีอำนาจจำหน่ายสิทธิของคู่ความได้ ก็มีอำนาจท้ากันได้
-ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายหรือข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง
84/1
-
ผู้ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะอันเดนด้วยเครื่องจักรกล
อีกฝ่ายต้องไม่ใช่เครื่องจักรกลด้วย เช่น รถยนต์ชนกันไม่ใช้มาตรา 437
ผู้โดยสารก็มีหน้าที่พิสูจน์ ส่วนทรัพย์อันตรายโดยสภาพ เช่น ไฟฟ้า
ทรัพย์เดินด้วยกลไก เช่น แท่นไฮโดรลิก เมื่อจำเลยรับว่า ใช้เครื่องจักรแล้ว
หน้าที่นำสืบว่า ไม่ต้องรับผิดตกแก่ผู้ควบคุม
-ผู้มีชื่อในทะเบียน (1373) เช่น โฉนดหรือ
น.ส.3 ผู้มีชื่อถือว่ามีสิทธิครอบครอง ยกเว้น สู้ว่า ไม่รุกล้ำที่ดิน
คนฟ้องก็ต้องนำสืบ สู้ว่ามีสิทธิตามสัญญาแบ่งทรัพย์
เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ แม้จำเลยมีชื่อในทะเบียน ก็ต้องสืบ สู้ว่า
ที่ดินออกโฉนดโดยไม่ชอบ เช่น ทับที่ดินผู้อื่น โจทก์ต้องสืบว่า ออกโฉนดโดยชอบ
ขอให้ดูมาตรา 127 ประกอบด้วย ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ยังไม่จดทะเบียน
เจ้าของโฉนดมีสิทธิดีกว่า สิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้อ้างว่า ไม่เป็นส่วนควบ
ต้องนำสืบ เช่น อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าหรือความยินยอม คดีต่างคนต่างมีชื่อในโฉนด
ถ้อ้างว่า เป็นเจ้าของผู้เดียวก็ต้องสืบ เนื่องจากโฉนดเป็นเอกสารมหาชนตามมาตรา 127
-ผู้ยึดถือให้สันนิษฐานว่า ยึดถือเพื่อตน
(1369,1372) ใช้ดับที่ดินมือเปล่า แต่ถ้าฟ้องรัฐ ผู้ครอบครองต้องนำสืบเพราะใช้ยันรัฐไม่ได้
หรือต่างฝ่ายต่างครอบครอง ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ หรืออ้างว่า ขายที่ดินให้โจทก์
ข้อที่ว่าขายไม่เกี่ยวกับสิทธิครอบครอง ผู้กล่าวอ่างนำสืบ สู้ว่า ผู้อื่นครอบครอง
ก็นำข้อสันนิษฐานมาใช้ไม่ได้ จำเลยครอบครองไม้ โจทก์อ้างว่า ให้ยืม โจทก์สืบ
แต่ถ้าอ้างเรื่องอื่น คือ อ้างว่าโจทก์ไม่มารับไม้ตามกำหนดนัด จำเลยสืบ
เงินในบัญชี ตามพฤติการณ์ธรรมดาต้องถือว่าเป็นของจำเลย
เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ โจทก์สืบ
-กรณีอื่น เช่น บุคคลกระทำการโดยสุจริต (6)
เช่น ผู้รันโอนทรัพย์ ตามมาตรา 1299 วรรคสอง ถือว่าบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริต
หรือรับโอนทรัพย์จากการทำสัญญาลวง ตามมาตรา 155 ใครอ้างว่า ไม่สุจริต ต้องสืบ
และคำให้การต้องชัดแจ้งว่า ไม่สุจริตอย่างไรด้วย สินสมรส ตาม 1474 วรรคท้าย
ใช้เฉพาะสามีภริยา ไม่ใช่กับคนภายนอก จำนวนเงินที่เอาประกันภัย เป็นหลักประเมินราคาที่ถูกต้อง
ตาม 877 วรรคสอง เว้นแต่ผู้รับประกันภัยสืบหักล้างได้ ออกใบเสร็จตาม 327 เช่น
ถือว่าชำระค่าเช่าเดือนก่อนๆด้วย เอกสารมหาชน สันนิษฐานว่าถูกต้องและแท้จริงตาม
127 โจทก์ฟ้องแบ่งสินสมรส จำเลยสู้ว่า ถือกรรมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น จำเลยต้องนำสืบ
เพราะอ้างว่า เอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
สันนิษฐานว่าถูกต้องตาม 1024 อ้างว่า ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น ก็ต้องสืบหักล้าง
-ภาระการพิสูจน์กับหน้าที่นำสืบ คือ
ถ้าไม่สืบพยานใช้เรื่องภาระการพิสูจน์ตัดสินคดี เช่น
ผู้มีหน้าที่นำสืบขาดนัดพิจารณา ก็ต้องแพ้คดี แต่ถ้าสืบพยานยันกัน
ก็ใช้เรื่องการชั่งน้ำหนักพยาน ส่วนลำดับการนำพยานเข้าสืบ คือ การสืบก่อนสืบหลัง
ถ้าประเด็นสำคัญที่สุดฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ เช่น สู้ว่า สัญญาเป็นโมฆะ
ศาลก็ให้สืบพยานก่อน
-พยานหลักฐานที่รับฟังได้
-ศาลมีอำนาจรับฟังพยานที่เรียกมาสืบ รวมทั้งไม่รับฟังพยาน
ตัดพยาน ตาม 86 เช่น พยานที่ศาลงดสืบไปแล้ว ศาลก็สั่งมาสืบได้
หรือสั่งให้ทำแผนที่พิพาทได้ ตาม 86 วรรคสาม
-พยานต้องเกี่ยวกับประเด็น
-สู้ว่า เป็นลายมือชื่อบุคคลอื่นลงแทน
แต่สืบว่า ลงในกระดาษเปล่า สู้ว่า ตึกพิพาทเป็นของบุคคลอื่น แต่สืบว่า อาศัยสิทธิจำเลยอยู่
สู้ว่า ชำระค่าจ้างครบแล้ว แต่สืบว่า ก่อสร้างไม่เสร็จ
เกิดความเสียหายเอาค่าเสียหายมาหักกลบ เหล่านี้ไม่เกี่ยวกับประเด็น ฟ้องสัญญากู้
แต่จะสืบว่า เป็นหุ้นส่วนกันและตกลงคืนทุนโดยทำสัญญากู้ไม่กรอกข้อความ
เป็นการสืบไม่สมฟ้อง
-สืบรายละเอียดที่มาแห่งหนี้ได้ เช่น
ชำระหนี้ตามเช็ค ที่มาของสินรสว่ารับมรดกมา
หรือของหายในโกดังไม่ใช่ของหายในการขนส่ง
-จำเลยให้การใดๆ โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิเสธ
โดยสามารถนำสืบหักล้างได้ทันที เช่น โจทก์สืบแก้ว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่น
หรือสัญญาอื่น หรือเอาสัญญาเช่ามาถามค้านว่า เป็นการครอบครองแทนโจทก์ได้
ส่วนจำเลยก็สืบพยานหักล้างพยานโจทก์ได้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ต้องเกิดจากการพิจารษาโดยชอบ คือ ต้องเกี่ยวกับคำฟ้อง คำให้การ หรือ
สิ่งที่คู่ความต้องสืบ สู้ว่า ที่เป็นของบุตรจำเลย จะสืบว่า
ที่ดินเป็นสาธารณะไม่ได้ สู้ว่า พินัยกรรมปลอม จะสืบว่า ไม่เป็นพินัยกรรมไม่ได้
เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน ศาลเองไม่ได้
-พยานหลักฐานเข้าสำนวน
ต้องยื่นบัญชีระบุพยานและส่งสำเนาล่วงหน้า
-สำนวนคดีอื่น ต้องยื่นคำร้องขอให้ผูกสำนวน
ในศาลเดียวกัน ก็อยุ่ในบัญชีพบยานและเสียค่าอ้างแล้ว เพียงแต่ยื่นบัญชีพยานเท่านั้น
ยังรับฟังไม่ได้ ในชั้นไต่สวนขาดนัด ประเด็นประเด็นว่า จงใจขาดนัดหรือไม่
ส่วนประเด็นอื่นเป็นสิ่งเกินเลยไป
ซึ่งต่างจากจากการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่สืบในเนื้อหาคดีมาคดีมีเหตุอันสมควรขอให้คุ้มครองชั่วคราวด้วย
-พยานหลักฐานสำคัญและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ตาม 87(2) คือ รับฟังได้ เช่น เช็ค
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาหรือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง
แต่การคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
การปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อเอาเปรียบทางคดี เช่น นำเอหกสารมาถามค้านในนัดสุดท้าย
ศาลไม่รับฟังได้ ถ้าซักค้านพยานปากแรกรับฟังได้ เพราะยังมีเวลาสืบหักล้าง
เอกสารแนบในศาลสูงรับฟังไม่ได้ เพราะไม่เข้าสำนวนโดยชอบ ส่วนคดีอาญา
ศาลรับฟังประกอบในเรื่องบทกำหนดโทษได้ หรือบางครั้งก็นำมาจำหน่ายคดีได้ เช่น
หนังสือยินยอมของผู้เสียหาย
-การนำสืบพยาน เช่น
สั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินได้
แม้เจ้าพนักงานที่ดินไม่มาเบิกความรับรองก็ตาม
-การยื่นบัญชีระพยาน ตาม 90
-จำเลยมีภาระการพิสูจน์ เมื่อจำเลยไม่สืบพยาน
จำเลยแพ้คดีแม้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยาน บัญชีระบุพยาน ถ้าระบุสำเนา
จะสืบต้นฉบับไม่ได้ เช่น สืบต้นฉบับพินัยกรรมไม่ได้ สืบตัวโจทก์หรือจำเลย
ก็ต้องยื่นในบัญชีระบุพยาน เพียงแต่ไม่ต้องอ้างที่อยู่เพราะอยู่ในสำนวนแล้ว
ถ้าระบุตัวความจะสืบผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ ระบุผู้รับมอบอำนาจ
จะสืบผู้รับมอบอำนาจช่วงไม่ได้ บัญชีพยานในขั้นไต่สวนคำร้องต่างๆ ถือว่ายื่นทั้งคดี
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ถือว่าอ้างทั้งสองคดี
เอกสารที่ถามค้านที่พยานรับรองก็ไม่ต้องระบุพยานและไม่ต้องส่งสำเนาล่วงหน้า
แต่ถ้าไม่รับรองก็รับฟังไม่ได้ เอกสารแนบในคำคู่ความ ไม่ต้องยื่นในบัญชีระบุพยาน
อ้างสำนวนคดีอื่นในศาลเดียวกัน ก็ยื่นบัญชีระบุพยานและเสียค่าอ้างก็ใช้ได้
แต่ถ้าในศาลอื่นก็ต้องยื่นคำร้องให้ศาลผูกสำนวนด้วย การขอให้พิจารณาคดีใหม่
บัญชีระบุพยานเดิมก็ใช้ได้ การแก้ข้อบกพร่องตามมาตรา 56
ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน เพราะเป็นอำนาจของศาล การขอตั้งผู้เชี่ยวชาญ
ก็ต้องยื่นในบัญชีระบุพยาน แต่ถ้าศาลตั้งเองก็ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน ตาม มาตรา 99
บัญชีระบุพยานต้องระบุที่อยู่ของพยานด้วย อาจระบุตำแหน่งได้
หรือใช้สรรพเอกสารที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนได้
การเลื่อนคดีจะเอาเหตุที่ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานมาไม่ให้เลื่อนคดีไม่ได้
ศาลต้องฟังก่อนว่าป่วยจริงหรือไม่ ยกเว้นคู่ความไม่ยื่นบัญชีระบุพยานจนพ้นกำหนด
ศาลมีอำนาจงดสืบพยานได้ ตามมาตรา 86
-กำหนดยื่นบัญชีระบุพยาน ตามมาตรา 889
คือ ยื่นในกำหนดเวลา ถ้าประวิงคดี ศาลไม่รับได้ คดีมโนสาเร่
ยื่นในวันนัดพิจารณาได้ คำว่า วันสืบพยานตาม 1(10) คือ
วันสืบพยานจริงๆ ไม่ใช่นัดที่เลื่อนมา ดังนั้น
ศาลต้องพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อน คดียื่นคำร้องขอให้หักเงินขายทอดตลาด
ศาลสั่งนัดพิจารณา ไม่ใช่นัดสืบพยาน การยื่นบัญชีระบุพยาน
ต้องยื่นก่อนวันสืบพยานเจ็ดวันเต็มๆ
-การขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน
เพิ่มเติมถ้ายื่นในกำหนดสิบห้าวัน ก็ไม่ต้องแสดงเหตุแต่อย่างใด
แต่ถ้ายื่นพ้นกำหนดเวลา คือ ต้องแสดงเหตุอันสมควร โดยทำเป็นคำร้อง ข้ออ้างว่า
เพิ่งพบ หรือพยานที่ยื่นไว้ไม่ครบถ้วน หรือความพลั้งเผลอ ไม่ใช่เหตุอันสมควร
ข้ออ้างว่า เพิ่งมีคำพิพากษา หรือทนายเจ็บป่วย รับฟังได้
คำร้องต้องอ้างเหตุและเพื่อประโยชน์ต่อคดี ศาลสั่งรับได้ แต่จะอ้างว่า
โจทก์ไม่จงใจและอีกฝ่ายไม่เสียเปรียบไม่ได้ จำเลยแถลงไม่สืบ อ. เป็นพยาน ต่อมา ร.
ไม่เบิกความ จำเลยก็นำสืบ อ. ได้ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ศาลสั่งเพิกถอนได้
อย่างไรก็ตาม ศาลอาจใช้อำนาจของศาลเองได้ ตาม 86, 87(2) รับฟังได้
เอกสารที่นำมาถามค้าน จำเลยไม่ค้านว่า
เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและไม่โต้แย้งอีก เพิ่งยกในชั้นอุทธรณ์ แสดงว่า
ศาลชั้นต้นเห็นว่า เป็นพยานสำคัญ รับฟังได้ ในศาลสูง ถ้ายื่นบัญชีระบุพยาน
ต้องมีคำร้องอ้างเหตุดังกล่าวด้วย เช่น อ้างว่า เพิ่งมีคำพิพากษาในคดีอาญา
ก็รับฟังได้
-ยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญา ตาม 229/1
-ถ้ามีวันตรวจพยาน
ต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานเจ็ดวัน
ถ้าไม่มีก็ต้องยื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสืบห้าวันก่อนวันสืบพยานหรือวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง
ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลา ก็ต้องแสดงเหตุอันควร
หรือเพื่อประโยชน์ในการสู้คดีของจำเลยก็ทำได้ คดีศาลสั่งให้แยกฟ้องก็ต้องยื่นบัญชีระบุพยานใหม่
เพราะเป็นคนละคดี ศาลก็มีอำนาจรับฟังได้เพราะเป็นประเด็นสำคัญในคดี
ศาลไปดินเผชิญสืบได้ คดีรวมพิจารณาต้องรับฟังพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน
จำเลยสืบพบยานไปบ้างแล้ว จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานได้เพื่อใช้สิทธิสู้คดี
-ถามค้านพยาน 89
- คือ พยานของคู่ความภายหลัง
ต้องถามค้านพยานที่เบิกความไว้ก่อนเพื่อให้อธิบายข้อความ ขณะโจทก์เบิกความ
จำเลยไม่ได้ถามค้านเอแกสารที่โจทก์ทำขึ้น จำเลยสืบเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ข้อกำหนดเพื่อให้พยานได้มีโอกาสอธิบาย ถ้าอ้างว่า อยู่คนละวัน
หรือไม่อยู่ในที่เกิดเหตุก็ไม่ต้องถามค้าน
-ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลย
แม้ไม่ถามค้านก็รับฟังได้ เช่น สืบว่า โจทก์ไม่เป็นผู้ทรง
หรือเป็นกรณีที่ไม่อาจถามค้านได้ เช่น ตายก่อนถามค้าน
หรือทนายไม่มาจึงซักค้านไม่ได้
โดยการคัดค้านต้องคัดค้านขณะเบิกความจะคัดค้านในศาลสูงไม่ได้ ถ้าไม่ค้านไว้
ศาลอาจวินิจฉัยว่า มีน้ำหนักน้อยได้ หรืออีกฝ่ายขอสืบพยานเพิ่มเติมได้
แต่จะโต้แย้งเฉยๆ ไม่ได้ แถบบันทึกเสียง ต้องมีการเปิดให้ฟัง
-ในคดีอาญาไม่ต้องถามค้านไว้ก่อน
แต่ศาลอาจว่ามีน้ำหนักน้อยได้ คดีคำร้องขอคืนของกลางใช้มาตรา 89
ด้วย สู้ว่า กู้เงินไม่กรอกข้อความ จำเลยมีสิทธินำสืบว่า พยานในแบบพิมพ์ยังไม่มีได้
-ส่งสำเนาเอกสาร 90
-คือ
ต้องส่งสำเนาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แต่ถ้าเอกสารเป็นชุด หาง่าย
หรือส่งแล้วคดีล่าช้า จะขอส่งต้นฉบับและงดส่งสำเนาได้
ถ้าอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกต้องมีหมายเรียกด้วย
-เอกสารที่ส่งปรักอบการแถลงรับข้อเท็จจริงในศาลไม่ใช่การสืบพยานไม่ต้องส่งสำนา
ภาพถ่ายเป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ต้องส่งสำเนา
รายงานของผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่พยานเอกสารไม่ต้องส่งสำเนา
เอกสารประกอบการถามค้านไม่ต้องส่งสำเนาและยื่นในบัญชีระพยาน ถ้าพยานรับรองก็ใช้ได้
เอกสารที่ติดมากับฟ้อง คำให้การคำร้องต่างๆ ส่งให้อีกฝ่าย
ถือว่าเป็นดารส่งตามกฎหมายแล้ว คำแปล ซึ่งศาลสั่งให้ทำตามมาตรา 46
จึงไม่ต้องส่งสำเนา
-ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งสำเนา คือ เอกสารเป็นชุด
เช่น สำนวนคดีอื่น เอกสารตรวจได้ง่าย เช่น รายการบัญชีเดินสะพัด เอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก
เช่น ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดินอยู่ในอีกสำนวนหนึ่ง เอกสารที่ศาลเรียกไป
รวมถึงเอกสารที่ต้องเรียกจากบุคคลในครอบครัวเดียวกันกับคู่ความ
-การส่งสำเนาต้องส่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
คือ วันสืบพนยานจริงๆ แต่ไม่ใช่กับการไต่สวนคำร้องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี
การส่ง คือ ให้อีกฝ่ายได้รีบก่อนเจ็ดวันด้วย คดีมโนสาเร่ไม่ต้องส่งสำเนาล่วงหน้า
ถ้าไม่ส่งคู่ความต้องคัดค้านตามมาตรา 27
เมื่อศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลรับฟังได้ เช่น เอกสารตอบโต้ระหว่างกัน ศาลมีหลักว่า ต้องซักค้านพยานปากแรก
โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบหักล้างเอกสารได้ ไม่ทำให้เสียเปรียบ จึงรับฟังได้ตาม 87(2)
อ้างหนังสือมอบอำนาจผิดคดี เท่ากีบไม่ส่งสำเนาล่วงหน้า
จะสืบพยานบุคคลแทนไม่ได้ ต้องห้ามตาม 94(ก) ประกอบ 60
วรรคสอง
การรับฟังเอกสาร ตาม 93
คือ รับฟังต้นฉบับ ยกเว้นเข้าข้อยกเว้น
-สืบสำเนาแอกสาร คู่ความอีกฝ่ายค้าน
ศาลรับฟังสำเนาไม่ได้ แต่สัญญาหลายฉบับโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง
เป็นคู่ฉบับไม่ใช่สำเนา สำเนายอมรับฟังไม่เมื่อคู่ความยอมรับกัน
ถ้าไม่ให้การปฏิเสธถือว่ายอมรับแล้ว ไม่ต้องสืบพยาน แต่เรื่องการสืบพยานนี่ยอมรับโดยชัดแจ้งหรือปริยายก็ได้
การไม่คัดค้านว่าเอกสารไม่ถูกต้องตามมาตรา 125
ศาลรับฟังสำเนาได้ตาม 93(4) สู้ว่า ไม่ได้รับประกันภัย
สำเนาตารางกรมธรรม์รับฟังไม่ได้
ต้นฉบับหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือหาไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น เช่น อยู่กับ น.
ซึ่งหลบหนี้การจับกุม หรือถูกลัก หรือโทรสารต้นฉบับย่อมอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง
หรือต้นฉบับจำเลยรับคืนไปแล้ว ศาลอนุญาตให้สืบสำเนาหรือพยานบุคคลได้ ตาม 93(2)
อนุญาตโดยปริยายได้ เช่น เข้าพยานบุคคลเข้าสืบพยาน คนที่สืบได้ คือ
คนที่อ้างเอกสาสูญหาย เช่น อ้างว่าเอกสารอยู่กับอีกฝ่าย แต่คู่ความปฏิเสธ
ถือว่าไม่อาจนำมาโดยประการอื่น
ส่วนสำเนาเอกสาราราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองถือว่าใช้ได้ เช่น
สัญญาแบ่งมรดกอยู่ในการครอบครองของนายอำเภอ
-คดีอาญาต้องสืบต้นฉบับตามมาตรา 2388
หาต้นฉบับไม่ได้ก็อ้างสำเนาได้ เอกสาราชการ เจ้าหน้าที่รับรองอ้างำเนาได้ ตาม 238
ซึ่งคดีอาญาต้องส่งสำเนาด้วยตาม 238
-ห้ามสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารกรณีมีกฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมาแสดง
ตาม 94
-สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
สืบข้อตกลงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ขึ้นค่าเช่า , ซ่อมเครื่องปรับอากาศ
บุคคลอื่นลงนามาในสัญญาเช่าแทนได้, โอนสิทธิการเช่า
แต่สืบว่าสัญญาเช่าต่างตอบแทนชนิดพิเศษได้ เช่น จ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้าง
หรือสืบว่า ผู้ให้เช่ายินยอมโดยปริยาย เช่น ยอมให้ปลูกบ้านให้คนอื่นเช่าได้
เพราะเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสัญญาและเป็นภายหลังในสัญญา
-สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามสัญญาจะซื้อจะขาย
ถ้ามีการมัดจำเป็นเรื่องหลัก คือ มีมัดจำก่อนทำสัญญา นำสืบพยานบุคคลได้
เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้มีเอกสารมาแสดง ถ้าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
จะนำสืบพยานบุคคลไม่ได้ เช่น เงื่อนไขขายเมือสมรสหรือการรังวัด กำหนดเวลาโอนที่ดิน
สถานที่ชำระหนี้ ค่าธรรมเนียมการโอน ราคา ส่วนควบ ที่งอก ผู้ซื้อผู้ขายตามสัญญา
เหล่านี้ สืบไม่ได้ ซื้อขายที่ดินมือเปล่าเป็นโมฆะ
แต่สมบูรณ์ตามสัญญาโอนสิทธิที่ดินโดยมีค่าตอบแทน สืบได้ กำหนดเวลาโอนที่ดินใน 9เดือน
จะนำสืบว่า เป็นวันใดใน 9 เดือนได้ หรือนำสืบว่า
เลื่อนกำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์ได้ ซื้อขายโดยไม่มีเจตนาโอนทางทะเบียนจะนำสืบว่า
มีข้อตกลงด้วยวาจาให้โอนที่ดินไม่ได้ ตกลงขายที่เฉพาะส่วน นำสืบว่า
ตกลงโอนที่เมื่อแบ่งแยกโฉนดได้ ค่าธรรมเนียมการโอนไม่ตกลงต้องออกคนละครึ่ง ตาม 457
สืบแตกต่างไม่ได้ ถ้าฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล ย่อมนำสืบราคาที่แท้จริงได้ เรื่องราคาถ้ารับกันสูงกว่าราคาที่ซื้อขายก็ได้
แต่ถ้าไม่รับกัน ก็ต้องผูกพันในสัญญา ที่ดินมีส่วนควบต้องถือว่ารวมส่วนควบ
รวมทั้งที่งอกด้วย ข้อตกลงแยกต่างหาก เช่น ข้อตกลงกับคนนอก
ข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อให้หักเป็นทางสาธารณะ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงที่ดิน
ก็นำสืบได้ สัญญาระบุว่าทำแทนบริษัท จะสืบว่า ทำในนามส่วนตัวไม่ได้
หรือสัญญาระบุว่า ร่วมกันซื้อจะสืบว่า ซื้อคนเดียวไม่ได้ ยกเว้นอ้างว่า
เป็นตัวแทนเชิดเข้าทำสัญญา
-สัญญากู้เงิน
ข้อตกลงไม่ระบุเวลาชำระหนี้เงินกู้ไว้ จะสืบว่า มีกำหนดเวลาไม่ได้ แต่สืบว่า
คู่กรณีชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดนั้นสืบได้ เพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติตามสัญญา
ตกลงคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย จะสืบว่า คิดดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีไม่ได้
หรือตกลงคิดดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีจะสืบว่า
คิดดอกเบี้ยไม่เกินหว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้
ชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยจะสืบว่าเป็นการชำระหนี้เงินต้นไม่ได้ สัญญาระบุดอกเบี้ยไว้
นำสืบว่า มีการมอบที่ดินต่างดอกเบี้ยได้ ยอดเงินตามสัญญากู้สามารถนำสืบได้ว่า
รวมดอกเบี้ยล่วงหน้า เพราะเป็นการสืบว่า หนี้ไม่บริบูรณ์
-กรณีไม่ได้พิพาทระหว่างคู่สัญญาก็นำสืบพยานบุคคลได้
เช่น เรื่องระหว่างตัวการตัวแทน โดยตัวการฟ้องเรียกที่ดินคืนได้
ทำสัญญากับผู้อื่นจะอ้างว่า ทำแทนตัวการไม่ได้ แต่บุคคลภายนอกสามารถอ้างได้ว่า
คู่สัญญาอีกฝ่ายเป็นตัวแท่นผู้อื่น เช่น
ผู้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นตัวแทนเชิดของผู้อื่น หรือผู้กู้สืบว่า
ผู้ให้กู้เป็นตัวแทนเชิดของผู้อื่นได้ ซื้อที่ดินร่วมกันแต่ลงชื่อคนเดียว
คนที่ซื้อฟ้องแบ่งได้ โดยนำพยานบุคคลมาสืบได้
และสามารถสืบราคาซื้อขายได้โดยไม่ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายเพราะไม่ใช่เรื่องสัญญาระหว่างกัน
สัญญาประกันภัยต้องลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตาม 968
แต่บุคคลภายนอกฟ้องไม่ต้องมีหลักฐานดังกล่าวโดยสืบพยานบุคคลได้
เมื่อบริษัทประกันภัยได้จ่ายเงินแล้ว ก็รับช่วงสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดได้
หรือผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องบริษัทประกันภัยได้ ฟ้องขอให้คืน น.ส. 3
มิได้ฟ้องตามสัญญากู้ โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบได้
แต่จำเลยอ้างสิทธิยึดโฉนดจะสืบว่ามีสัญญากู้ ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ นอกจากนี้
การสืบพยานเอกสาร หรือการแก้ไขพยานเอกสรด้วยกัน ก็นำพยานบุคคลสืบได้ เช่น
ให้สัญญาทำงายสัญญาได้ -ข้อที่นำสืบได้ คือ
ต้นฉบับสูญหายหรือหาไม่ได้โดยประการอื่นตาม 93(2) เช่น
สู้ว่าไม่มีสัญญาเช่าและไม่อยู่ที่จำเลย ข้อนำสืบว่า พยานเอกสารเป็นเอกสารปลอม
เช่น ปลอมตัวเลข ลายมือชื่อ หรือลงชื่อโดยไม่กรอกข้อความ ข้อนำสืบว่า
พยานเอกสารไม่ถูกต้อง เช่น เป็นคนละสัญญากัน ฟ้องตามสัญญาซื้อขาย สู้ว่า
เป็นสัญญากู้ ข้อนำสืบว่า หนี้ไม่สมบูรณ์ เช่น นิติกรรมอำพรางหรือสู้ว่าถือแทน
ขายฝากอำพรางจำนอง ให้ความจริงเป็นแลกเปลี่ยน จำนองไม่รวมหนี้ตามฟ้อง
ไม่ได้รับเงินกู้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่สัญญาซื้อขายหรือสัญญายอมความ
ความสมบูรณ์ไม่อยู่ที่การชำระราคา เมื่อระบุว่า ได้รับชำระแล้ว
จะสืบพยานบุคคลว่าไม่ได้ชำระราคาไม่ได้ ข้อสุดท้ายคือ การตีความหมายผิด เช่น
สัญญาซื้อขายไม่ระบุกรณีธนาคารไม่อนุมัติเงินกู้ หรือสัญญาไม่ระบุเลขโฉนด
หรือชื่อในวงเล็บตามสัญญาประกันภัย หรือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือซื้อขายกันเอง
หรือให้ดอกเบี้ยร้อยละ 5 ไม่ชัดว่าร้อยละห้าสลึงหรือห้าบาท
สัญญาขัดกันเองก็ไม่สมบูรณ์สืบพยานบุคคลได้ บอกว่าได้ชำระราคาแล้ว แต่ตัวข้อความระบุว่า
จะชำระค่าอ้อยเมื่อมาถึงโรงงาน สัญญากู้ระบุดอกเบี้ยร้อยละ 19
ต่อปี เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้ว สืบอย่างอื่นไม่ได้ เอกสารเขียนว่า ได้รับเงินแล้ว
สืบว่า รับด้วยเช็คได้ ใบเสร็จระบุว้ารับเงินจะสืบว่า ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้
สัญญากู้ไม่ระบุผู้กู้ ก็นำสืบว่า ใครเป็นผู้กู้ได้ สัญญาซื้อขายระบุว่า
บ้านเป็นของผู้มีชื่อไม่เกี่ยวข้องด้วย ย่อมนำสืบได้ว่า บ้านรวมที่ดินด้วย
ข้อตกลงติดตั้งเครื่องปรับอากาศ รวมติดตั้งพัดลมดูดอากาศด้วย
เอกสารโฆษณาและแผนผังท้ายสัญญา นำสืบได้ว่า เป็นการอธิบายข้อความในสัญญา
สัญญาสร้างบ้านเสร็จเมื่อใด นำสืบอธิบายได้
-หลักที่น่าสนใจ รับมรดกที่ดิน
ทายาทลงชื่อรับมรดก จะสืบว่า แบ่งตามสัดส่วนที่มารดาชี้แนวเชตไม่ได้
แต่เจ้าของรวมสืบตามสัดส่วนที่แบ่งแยกได้ ขายที่ดินเฉพาะส่วน 20
ตารางวา สืบว่า ขายเมื่อตกลงแบ่งแล้วได้ ส่งหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีผิดคดี
ก็ถือว่าไม่ส่งสำเนาล่วงหน้า จึงรับฟังเอกสารไม่ได้
และรับฟังพยานบุคคลไม่ได้เพราะเป็นการสืบแทนเอกสาร หนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า
เสียดอกเบี้ยร้อยละชั่งต่อเดือน นำสืบว่า ร้อยละ 2
ต่อเดือนเพื่อให้เห็นว่าเงินที่จำเลยชำระเป็นการชำระดอกเบี้ยได้ ฟ้องถอนคืนการให้
จำเลยสืบว่า ให้โดยมีภารติดพันได้ ฟ้องเพิกถอนการโอนนำสืบว่า
ชำระราคาเกินหว่าที่เขียนไว้ได้
-รับฟังพยานบุคคล 95
คือ พยานที่ต้องเข้าใจ ตอบคำถามได้รู้เหตุการณ์โดยตรง
-พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง
แม้เป็นญาติหรือผู้เยาว์หรือคนหูหนวกเป็นใบ้ ตาม 96 ก็รับฟังได้ความระมัดระวัง
ตาม 104 วรรคสอง ถ้าเบิกความมีเหตุผลจากลักษณะ
สภาพของพยานก็รับฟังได้ คำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า
จะรับฟังได้ต้องดูเหตุผลเป็นเรื่องๆไป กรณีรับฟังได้ เพราะเป็นปรปักษ์แก่ตนเอง
ยกเว้นข่มขู่โดยไม่สมัครใจ พยานบอกเล่าเป็นคำรับของคู่ความรับฟังได้ เช่น
รับต่อพนักงานสอบสวน ส่วนคำบอกเล่าของผู้ถึงแก่ความตาย โดยผู้พูดคิดว่าตนจะตาย
รับฟังลงโทษได้ เพราะถือว่ามีเหตุจำเป็น แต่ถ้าไม่คิดว่าตนจะตาย
แต่บอกใกล้ชดกับที่เกิดเหตุ ก็รับฟังได้ในฐานะพยานที่ใกล้ชิดกับที่เกิดเหตุ
-ความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่พยานบอกเล่า
ศาลรับฟังประกอบได้ ถ้าขัดกับประจักษ์พยานก็รับฟังประจักษ์พยาน
ยกเว้นพยานเบิกความขัดต่อเหตุผล
สำนวนคดีก่อนเป็นพยานความเห็นหรือดพยานบอกเล่าเท่านั้น ตำนานประวัติศาสตร์ เช่น
ตำนานประวัติศาสตร์พระธาตุร่องอ้อ ก็รับฟังได้ โดยประกอบพงศวดารของราชการได้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อเบิกความตามที่รู้เห็นรับฟังได้
-การอ้างคู่ความเป็นพยานตาม 97
ต่างฝ่ายต่างอ้าง ตาม 91 ศาลสั่งให้สืบพร้อมกันได้
หรือสั่งให้ซักค้านก็ได้
-การแต่งตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญ
จากเกิดจากคำขอของคู่ความหรือศาลเห็นสมควร การแต่งตั้งโดยปริยายได้ ตา99
เช่น ศาลส่งให้กองพิสูจน์หลักฐาน โจทก์สืบพยานเสร็จ จำเลยของให้ผู้เชี่ยวชาญสืบ
โจทก์จะขอให้พยานเชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ไม่ได้
คู่ความแถลงให้ตั้งพยานเชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์โดยทำความเห็นโดยละเอียดแล้ว
แต่ไม่ถูกใจโจทก์โจทก์จะขอให้ตรวจใหม่ไม่ได้
-การแสวงหาข้อเท็จจริงของศาล 86
วรรคสาม, 228
-การเดินเผชิญสืบ ตาม 102
คดีไม่มีประเด็นเกี่ยวกับแนวเขตและมีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้ว
ไม่ต้องเดินเผชิญสืบ
การเดินเผชิญสืบของศาลไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
-การส่งประเด็นไปสืบ เป็นดุลพินิจของศาล เมื่ออนุญาตแล้วก็เพิกถอนได้หรืองดเสียได้
ชำระค่าอ้างภายหลังได้ พยานย้ายที่อยู่
ศาลที่รับประเด็นก็ส่งต่อไปโดยไม่ต้องแก้บัญชีระบุพยาน
- การวินิจฉัยพยานหลักฐานตาม 104
โจทก์ขอสืบพยานในข้อหาเดียวและข้อหาอื่นอีก ศาลงดสืบไม่ได้
คำรับในคดีก่อนสืบหักล้างได้ คดีโจทก์ไม่มาเบิกความก็ฟังได้
คดีเช็คไม่ต่อสู้ว่าโจทก์ฉ้อฉลอย่างไร ศาลงดสืบจำเลยได้เพราะไม่มีประเด็น
พยานผู้เชี่ยวชาญ ศาลไม่ต้องถือตาม
ศาลดูลายมือชื่อในการเขียนรับสำเนาคำฟ้องประกอบได้ แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ
ถ้าไม่ชอบ รับฟังไม่ได้ แต่รับฟังประกอบหลักฐานอื่นได้ โดยต้องเปิดให้พยานฟัง
แค่ถอดเทปไม่เพียงพอ
-พยานเข้าเบิกความ/เอกสารเข้าสำนวน
-พยานบุคคล ต้องสาบานก่อนตามหลักศาสนา ยกเว้น
ตกลงกันหรือเป็นพระภิกษุสามเณร หรือกษัตริย์ พยานไม่ได้สาบานก่อน
แต่เบิกความรับรองขณะเบิกความก็ใช้ได้
แต่เบิกความเสร็จแล้วมาเบิกความภายหลังใช้ไม่ได้
การไต่สวนละเมิดอำนาจศาลก็ต้องสาบาน ค่าสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหายังไม่พอ
ศาลลงโทษละเมิดอำนาจศาลไม่ได้ คำแถลงของคู่ความต่อศาลในการพิจารณาไม่ใช่สืบพยาน
ไม่ต้องสืบพยาน เช่น เอกสารแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลมิใช่ข่ออ้างประกอบการสืบพยาน
จึงรับฟังได้
-เบิกความด้วยวาจา ตาม 113
เบิกความโดยอ่านเอกสารที่ส่งศาล อีกฝ่ายไม่ค้าน เท่ากับศาลอนุญาตให้อ่านได้
เบิกความเป็นเรื่องเฉพาะตัว เบิกความแทนไม่ได้ เพราะมีโทษฐานเบิกความเท็จ
-ห้ามเบิกความต่อหน้าพยานผู้อื่นตาม 114
หมายถึงพยานฝ่ายตนเท่านั้น คู่ความต่างอ้างคนเดียวเป็นพยาน
ต้องดูว่าเบิกความในฐานะพยานฝ่ายใด คดีที่รวมพิจารณา จำเลยต่างอ้างจำเลยด้วยกันเป๋นพยาน
จำเลยคนหนึ่งจะเบิกความต่อหน้าจำเลยอื่นไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่า
พยานเบิกความเชื่อถือได้มิได้เกิดจากการฟังพยาน เช่น
พยานมิได้เบิกความตามพยานคนก่อน
ข้อห้ามรับฟังรวมถึงการถ่ายทอดการพิจารณาทางโทรทัศน์วงจรปิดด้วย
-การถามพยาน ตาม 117, 118
พยานเลิกความตอบคำซักถามแล้ว ตายก่อนอีกฝ่ายถามค้านก็รับฟังได้
พยานเอกสารที่ศาลเรียกสำนวนการสอบสวนมาพิจารณาตามปวิอ. มาตรา 175
ไมอาจถามค้านได้ โจทก์ถามติงโดยให้พยานยืนยัน เอกสารที่เบิกความมาแล้วก็รับฟังได้
คู่ความอาจขออนุญาตศาลถามได้ เช่น หลังจากถามติงแล้ว เป็นการอนุญาตโดยปริยาย
โดยต้องแย้งในขณะนั้น คดีอาญาข้อเท็จจริงตามคำถามติงที่จำเลยไม่ได้ถามค้านไว้
ศาลนำมารับฟังประกอบการลงโทษจำเลยไม่ได้ บันทึกยืนยันข้อเท็จจริง
ต้องยื่นคำร้องขอใช้ก่อนวันชี้สองสถาน
ถ้าไม่มีการชี้สองสถานก็ยื่นก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
-การพิสูจน์ต่อพยาน ตาม 120
เอกสารประกอบการถามค้านโดยพยานรับรองเอกสาร ก็รับฟังได้
โดยไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานหรือส่งสำเนาเอกสาร ซึ่งใช้ในคดีอาญาด้วย เช่น
นำคำให้การในชั้นสอบสวนมาถามค้านจำเลย
นอกจากนี้คู่ความแถลงขอให้สืบพยานเพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลในการอนุญาต
-เอกสารเข้าสู่สำนวน ตาม 123-127
ทวิ
-การนำพยานเอกสารมาสืบ ตาม 122, 123
ต้องนำต้นฉบับมาสืบในวันสืบพยาน ถ้าอีกฝ่ายไม่ค้านก็ให้ส่งวันหลังได้
ต้นฉบับอยู่ในความครอบครองอีกฝ่ายหนึ่ง และศาลหมายเรียกแล้ว
ไม่ส่งให้ถือว่ารับข้อเท็จจริงแล้วตาม 123 ยกเว้นผู้ครอบครองแจ้งว่า ไม่พบ
จะถือว่ายอมรับไม่ได้ ต้นฉบับเอกสารอยู่กับคนภายนอก ตาม 123
วรรคสอง ต้นฉบับคนไข้หาไม่พบ จำเลยสืบโดยใช้ภาพถ่ายหรือพยานบุคคลได้ตาม 93(2)
ประกอบ 123 สำเนาโฉนดรับฟังได้
เพราะต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของราชการ ตาม 93(3)
-การคัดค้านเอกสาร ต้องคัดค้านก่อนวันสืบพยานเสร็จ
ถ้าเกินกำหนดต้องยื่นคำร้องต่อศาลแสดงเหตุที่ไม่อานคัดค้านได้ การคัดค้าน
ต้องคัดค้านว่า ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ เช่น
สู้ว่า ไม่ได้ทำสัญญา ถือว่าคัดค้านแล้ว แต่ถ้าสู้ว่า
ไม่รับรองหรือคนลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจหรือไม่ให้การถึง ก็ถือว่าไม่คัดค้าน
แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยาน เอกสารได้ เช่น
ใบรับเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ให้กู้และ คู่ความมีสิทธิคัดค้านได้ว่า
หนี้ไม่สมบูรณ์หรือตีความหมายผิด เช่น คิดบัญชีไม่ถูกต้องก็ค้านได้
-เอกสารมหาชน ตาม 127
คือ เอหกสารที่เจ้าพนังกานทำขึ้นหรือรับรองสำเนาถูกต้อง
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้องและแท้จริง เช่น ใบสำคัญการสมรส, ใบมรณะบัตร,
สูติบัตร, ทะเบียนบ้าน โฉนด หรือ น.ส. 3
บันทึกข้อตกลงหลังการหย่า ส่วนเอกสารต้องมีคำพิพากษาและสำนวนความ
คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ บัญชีผู้ถือหุ้น แต่สัญญาให้ที่ดินไม่ใช่เอกสารมหาชน
ในการรับรองไม่จำต้องมีหมายเรียกยานบุคคลมาเบิกความประกอบ
-พยานผู้เชี่ยวชาญ ตาม 129, 130
-การตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญเป็นดุลพินิจของศาล
เช่น ขอให้ส่งเอกสารไปพิสูจน์เป็นเรื่องของคู่ความมิใช่หน้าที่ของศาล
การเทียบลายมือชื่อเป็นการพิจารณาอย่างหนึ่ง ศาลทำได้เอง ตาม 126
ผุ้เชี่ยวชาญมีความเห็นเป็นหนังสือได้ หรือมาเบิกความต่อมาศาลได้
ส่วนคดีอาญาต้องเบิกความเสมอ ยกเว้นจำเลยไม่ติดใจค้าน
ศาลไม่ต้องถือตามความเห๋นของพยานผู้เชี่ยวชาญ
ยกเว้นมีการท้ากันให้ถือตามพยานผู้เชี่ยวชาญที่ได้ส่งความเห็นมาแล้ว
ต่อมาศาลชั้นต้นยกเลิกการตรวจพิสูจน์ ก็ไม่อาจลบล้างผลการตรวจได้
-พยานตามประมวลรัษฎากรพยานตามประมวลรัษฎากร คือ
ตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ หลักฐานการกู้เงิน หรือหลักฐานการค้ำประกัน
หนังสือขอเปิดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี เป็นหนังสือฝ่ายเดียว หรือหนังสือขอเช่าที่ดิน
เหล่านี้ไม่ใช่ตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ ตราสารที่ทำจากต่างประเทศ
ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ สำเนาสัญญาเช่า ไม่ใช่ต้นฉบับ จึงรับฟังได้
จำเลยให้การยอมรับก็ไม่ต้องอาศัยตราสารเป็นพยานหลักฐาน
จึงถือว่าเป็นคำรับของคู่ความ เช่น รับว่า ทำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกัน ใบมอบอำนาจผู้ลงนามไม่มีอำนาจ
แต่ถ้าสู้ว่า ได้เงินไม่ครบตามสัญญากู้ก็ต้องใช้ตราสาร
กรณีรับฟังได้ต้องไม่เป็นการฟ้องคดีโดยตรง เช่น ผู้ค้ำประกันฟ้องไล่เบี้ยผู้กู้ได้
เจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้ เหล่านี้ฟ้องได้
ส่วนคดีอาญารับฟังได้แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ เช่น หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่ปิดอากรแสตมป์
สัญญากู้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์และได้ออกเช็คชำระเงินกู้ โจทก์ฟ้องตาม พรบ.เช็คได้
การปิดอากร คือ ปิดครบจำนวนและขีดฆ่า แต่ไม่ต้องลงวัน เพราะทำให้ใช้ไม่ได้ต่อไป
โดยอาจปิดและขีดฆ่าในภายหลังได้ แต่ต้องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จะขออนุญาตปิดในศาลสูงไม่ได้
-พยานหลักฐานตามปวิอ.
-หลักฐานตามปวิอ. ต้องถือว่า ปวิอ.
บัญญัติโดยเฉาพะแล้ว ข้อที่ไม่ได้บัญญัติไว้ บางเรื่องก็นำ ปวิพ. มาใช้
-หน้าที่นำสืบในคดีอาญา
-คดีอาญา
โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนและนำพบยานเข้าสืบก่อน จำเลยสู้ว่า เป็นการป้องกันเท่ากับสู้ว่า
ไม่ได้กระทำผิด โจทก์ต้องสืบ ฟ้องตามพรบ. เช็ค โจทก์ต้องสืบว่า
จำเลยออกเช็คโดยมีเจตนามิใช้เงินตามเช็ค ความผิดรับของโจร โจทก์ต้องสืบด้วยว่า
จำเลยรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ข้อเท็จจริงต้องเกิดจากการที่โจทก์นำสืบได้
ส่วนข้อเท็จจริงจากที่จำเลยตอบคำถามค้าน ต้องรับฟังพยานอื่นประกอบ ตาม 233
วรรคสอง คดีจำเลยไม่ได้รับว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอื่น
คดีอาญาว่าคดีไม่ชาดอายุความ เหล่านี้โจทก์สืบ คำท้าใช้ในคดีอาญาไม่ได้
ส่วนการร้องขอคืนของกลางไม่ใช่เนื้อหาของความผิด ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบว่า
เป็นเจ้าของและไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด
-พยานหลักฐานในคดีอาญา ตาม 226
-พยานที่พิสูจน์ถึงความจริงหรือบริสุทธิ์
ก็นำสืบเปแนพยานได้ เว้นแต่ยานหลักฐานที่เกิดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็รับฟังไม่ได้
เช่น เกิดจากคำมั่นสัญญา, การขู่เช็ญ, การหลอกลวง
ก็รับฟังไม่ได้ เช่น รับสารภาพจะไม่ดำเนินคดี แต่ถ้าสมัครใจก็รับฟังได้
ส่วนการได้มาโดยไม่ชอบ
ก็ห้ามรับฟังเว้นแต่ลักษณะความผิดมีความสำคัญมากกว่าการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
การล่อซื้อเป็นแต่การแสวงหาหลักฐานเท่านั้น รับฟังได้ เช่น ล่อซื้อยาเสพติด
โดยไม่จำต้องถ่านธนบัตรหรือให้สายลับมาเบิกความเป็นพยาน
ยกเว้นจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดมาก่อนก็เป็นการหาหลักฐานที่ไม่ชอบ ศาลออกแนวว่า
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่การขอร่วมประเวณีเพื่อพิสูจน์การร่วมประเสณี
หรือเช้าไปซื้อสลากกินรวบ เหล่านี้รับฟังได้ คำรับของจำเลยในชั้นสอบสวนโดยไม่ได้เตือน
หรือสืบพยานโดยพนักงานอัยการไม่ได้ยื่นคำร้องขออ้างรายงานบาดแผลโดยพยานเบิกความเอง
หรือพยานเบิกความโดยไม่สาบาน เหล่านี้รับฟังไม่ได้ พนักงานสอบสวนแจ้งแก่จำเลยว่า
ผู้เสียหายยังไม่ตายทั้งที่ได้ตายแล้ว ก็ไม่เป็นการล่อลวง
คดีปลอมเอกสารไม่จำต้องมีเอกสารปลอม ข้อเท็จจริงที่นำมาลงโทษต้องเป็นคำพยาน
คำแถลงของผู้เสียหายหรือการรียกสอบถามไม่อยู่ในฐานะพยาน หรือรายงานการสืบเสาะ
ก็รับฟังลงโทษไม่ได้ แต่ถ้าเป็นดุลพินิจกำหนดโทษ เช่น อ้างวุฒิการศึกษา
รายงานการสืบเสาะที่คู่ความไม่ค้าน ก็รับฟังได้ พยานบุคคลหรือเอกสรไม่จำต้องเป็นเอกสารที่มีการสอบสวนแล้ว
ข้อสำคัญ คือ พยานต้องเบิกความต่อหน้าจำเลย คำพยานในคดีแพ่ง รับฟังไม่ได้
แต่พยานที่เบิกความก่อนรวมคดีหรือ คำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ต้องมีการตกลงกัน ตาม
237 วรรคสอง โดยให้ตอบคำถามค้านทันทีรวมคำถามติง
แต่คดีที่ต้องสืบพยานประกอบจะตกลงไม่ได้ มิฉะนั้นก็ต้องสืบพยานใหม่
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ก็ดำเนินการสืบพยานได้
แม้ภายหลังศาลยกคำร้องขอเป็นโจทก์ร่วม จำเลยบางคนรับสารภาพ ศาลจึงแยกฟ้อง
พยานที่สืบไปแล้วรับฟังได้ โจทก์ฟ้องคดีได้ไม่จำต้องมีแผนที่พิพาท
-คดีอาญาจำเลยสืบพยานได้โดยไม่ต้องถามค้านเอกาไว้ตามมาตรา
89 รวมทั้งไม่อยู่ในบังคับมาตรา 94
ด้วย
-คำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าตาม 226/3
โดยไม่ต้องอ้างปวิพ. คือ รับฟังได้ตามลักษณะของพยาน โดยต้องรับฟังพยานอื่นประกอบ
พยานที่สืบประกอบต้องไม่ใช่พนักงานสอบสวน พยานที่สืบประกอบ เช่น พยานวัตถุ
น้ำอสุจิของผุ้ต้องหา ผลตรวจดีเอ็นเอ คำให้การที่กระชั้นชิดและเชื่อมโยงพยานอื่น
หรือคำซักทอดของผู้รวมกระทำผิด รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
ตราสารไม่ปิดอากรแสตมป์รับฟังได้ คำพยานในชั้นสอบสวนไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลย
รายงานการสืบเสาะ ศาลนำมายกฟ้องไม่ได้
แต่เป็นเหตุกำหนดโทษหรือให้สืบพยานต่อไปได้ตาม 176
-คำให้การในชั้นจับกุมหรือชั้นรับมอบตัว ตาม 84
วรรคท้าย คำรับสารภาพในชั้นจับกุมรับฟังไม่ได้
ส่วนถ้อยคำอื่นรับฟังได้โดยต้องเตือนก่อน
การสอบสวนต้องอยู่ในฐานะจำเลยและได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว โดยต้องแจ้งสิทธิ
สอบถามทนายความสำหรับคดีโทษประหารชีวิตหรือผู้ต้องหาเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี
ถ้าไม่แจ้งสิทธิหรือไม่ดำเนินการดังกล่าว ก็รับฟังไม่ได้ตาม 134/4
วรรคสอง ถ้าหมายเรียกในฐานะพยาน ถ้าไม่มาถือว่าขัดหมาย
-ชั่งน้ำหนักพยาน 227-227/1
-ศาลต้องชั่งน้ำหนักพยานโดยต้องแน่ใจว่า
จำเลยกระทำความผิดถึงลงโทษจำเลย คำซักทอดของผู้รวมกระทำผิด
คำให้การชั้นสอบสวนเบิกความสอดคล้องเชื่อมโยงมีเหตุผล
เหล่านี้รับฟังลงโทษไม่ได้ต้องรับฟังประกอบหลักฐานอื่น
บางครั้งศาลนำคำให้การชั้นสอบสวนมีน้ำหนักยิ่งกว่าชั้นศาลได้ หากเห็นว่า
คำเบิกความมีลักษณะช่วยเหลือจำเลยและขัดต่อเหตุผล
-คำให้การชั้นจับกุม
ถ้าเป็นคำรับสารภาพรับฟังไม่ได้ตาม 84 วรรคท้าย
ถ้าเป็นถ้อยคำอื่นรับฟังได้เมื่อแจ้งสิทธิ
ส่วนคำให้การในชั้นสอบสวนต้องดำเนินการตาม 134/1-4
กล่าวคือ ถามทนายความ ตาม 134/1 จัดให้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องตาม 134/2
จัดให้มีผู้ไว้วางใจ ตาม 134/3 แจ้งสิทธิตาม 134/4
จำเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่ปฏิเสธชั้นศาล ต้องมีพยานอื่นมาประกอบ
หลักฐานที่สืบประกอบต้องมีแหล่งที่มาเป็นอิสระ ตาม 227/1
คือ ต้องไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกาสรสอบสวน เช่น บันทึกนำชี้ที่เกิดเหตุและคำขอพนักงานสอบสวนหรือตำรวจผู้จับกุม
รับฟังลงโทษไม่ได้ คำเบิกความตอบคำถามค้าน ก็ต้องรับฟังพยานอื่นประกอบ
พยานหลักฐานประกอบ เช่น จำเลยรับสารภาพด้วยความสมัครใจ และติดตามรถยนต์ของกลาง
หรือพาไปขุดหลุมฝังผู้ตาย หรือพบอาวุธปืนของกลาง ส่วนคำรับสารภาพในชั้นศาลตาม 176
ศาลตัดสินได้ทันที เว้นแต่คดีต้องสืบพยานประกอบ
คำรับสารภาพหรือคำของพนักงานตำรวจชั้นจับกุมหรือสอบสวน รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
-คำรับของจำเลยต่อบุคคลอื่น คือ
ไม่ใช่คำรับต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
คำรับนี้รับฟังได้โดยโจทก์ต้องสืบพยานประกอบ คดียาเสพติดไม่นำสายลับมาเบิกความได้
ยกเว้นไม่มีพยานอื่นก็ต้องนำสายลับมาเบิกความ
แต่ถ้าให้สายลับล่อซื้อโดยไม่มีตำรวจซุ่มดู
แม้ค้นธนบัตรได้จากจำเลยก็รับฟังลงโทษไม่ได้
เนื่องจากอาจได้ธนบัตรโดยประการอื่นได้
คำเบิกความพยานโจทก์เบิกความเสร็จแต่จำเลยยับไม่ได้ถามค้านไว้ ก็รับฟังได้
แต่ฟังลงโทษไม่ได้ต้องรับฟังประกอบหลักฐานอื่นตาม 227
วรรคสองเพราะพยานมีข้อบกพร่อง
-พยานบอกลเล่าใกล้ชิดกับที่เกิดเหตุไม่มีโอกาสคิดแกล้งปรักปรำจำเลยหรือถ้อยคำที่ขัดต่อผลประโยชน์ของตนเอง
รับฟังประกอบหลักฐานอื่นได้ตาม 227 วรรคสอง พยานปากเดียวรับฟังลงโทษได้
แต่เบิกความเพียงจำจำเลยได้ ไม่พอฟังลงโทษ แต่คำบอกกล่าวของผู้ถูกทำร้ายก่อนตาย
ได้กล่าวถึงคนร้ายในขณะรู้ตัวว่าตาย มีน้ำหนักรับฟังลงโทษได้
ยกเว้นบางกรณีที่ผู้ตายอาจผิดพลาดได้ เช่น
แอสงสว่างไม่เพียงพอหรือไม่มีหลักฐานอื่นทำให้น่าเชื่อถือ ถ้าบอกโดยรู้ตัวหรือคิดว่าไม่ตาย
ก็รับอ่าน โจทก์มีพยานปากเดียวรับฟังประกอบหลักฐานอื่นลงโทษได้ ตาม 227
วรรคสอง
-การยกประโยชน์ความสงสัยให้จำเลย คือ
ต้องสงสัยมิใช่โจทก์สืบแตกต่างจากดพยานหลักฐานที่จำเลยต่อสู้ การสงสัย
ต้องสงสัยในข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย และการสืบแตกต่างเป็นเรื่องมาตรา 192
วรรคสอง, วรรคสาม, วรรคท้าย
-อำนาจศาล ตาม 228
-ศาลสั่งให้สืบพยานเพิ่มเติมได้ ตาม 228
คดีรับสารภาพก็สืบพยานต่อไปได้ คดีร้องขอคืนของกลาง
โจทก์รับสำเนาแล้วไม่ยื่นคำร้องคัดค้านและไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานจนสืบพยานเสร็จ
ศาลอนุญาตให้โจทก์สืบพยานได้ จำเลยอ้างสิทธิสู้คดีโดยขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตาม 173/1หรือ 229/1
คดีอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาก็ขอสืบพยานเพิ่มเติมได้
ศาลหมายเรียกพยานมาสืบเองได้ โดยนำมาใช้ในคำร้องขอไต่สวนมูลฟ้องด้วย เช่น
ให้ฟังคดีอื่นซึ่งอยู่ระหว่างไต่สวนมูลฟ้องและจำหน่ายคดีชั่วคราว
โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้ โจทก์เบิกความเป็นพยานแล้ว
โจทก์ขอเบิกความเป็นครั้งที่สองศาลอนุญาตได้
-การเดินเผชิญสืบและส่งประเด็น ตาม 230
จ่าศาลไม่มีสิทธิเดินเผชิญสืบแล้ว การส่งประเด็นไปสืบ ต้องสืบต่อหน้าจำเลยทุกครั้ง
ยกเว้นจำเลยไม่ติดใจค้านโดยส่งคำถามแทนการซักค้านได้
ส่วนการเดินเผชิญสืบเป็นดุลพินิจของศาลในการอนุญาต
ผู้พิพากษาที่สืบพยานประเด็นรับรองให้อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
-การสืบพยานบุคคล ตาม 232-237
ทวิ
-ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน ตาม 232
คือศาลรับฟังแล้วและเป็นคดีเดียวกัน เช่น คนละคดีหรือถอนฟ้องไปแล้ว
ผู้ร่วมกระทำความผิดถูกฟ้องเป็นคนละคดีก็อ้างเป็นพยานได้
แม้พนักงานสอบสวนมิได้สอบในฐานะพยานก็ตาม แต่ถ้าแยกฟ้องและศาลรวมพิจารณา
ถือว่าคดีเดียวกัน คำให้การชั้นสอบสวนใช้ยันจำเลยได้ตาม มาตรา 134
ศาลนำคำเบิกความจำเลยมาวินิจฉัยคดีได้
-จำเลยอ้างตนเป๋นพยาน ถ้าเสียหายจำเลยอื่น
จำเลยอื่นซักค้านได้ตาม 233
พยานมีสิทธิไม่เบิกความตอบคำถามให้ถูกฟ้อง ตาม 234
ศาลมีอำนาจถามพยานได้แต่จะเพิ่มเติมฟ้องโจทก์ซึ่งบกพร่องไม่ได้ ตาม 235
ถ้าฟ้องโจทก์บริบูรณ์แล้ว ศาลถามรายละเอียดได้
-การสืบพยานบุคคลก่อนฟ้องคดี
แม้ผู้ต้องหาไม่ถูกควบคุมตัว ศาลสืบพยานไว้ก่อนได้ และไม่อยู่ในบังคับมาตรา 72
วรรคสอง ไม่ต้องอธิบายฟ้องให้ผู้ต้องหาฟัง ถ้าจำเลยไม่มีและต้องการนทนายความ
โดยยังไม่ตั้งทนายความ ศาลต้องซักถามแทนจำเลย ถ้าจำเลยรับสารภาพ จำเลยฎีกาว่า
การสืบพยานไม่ชอบด้วยมาตรา 237 ทวิ ศาลฎีกาว่า ไม่เป็นสาระแก่คดี
จำเลยก็มีสิทธิสืบพยานล่วงหน้าได้
รวมทั้งคู่ความมีสิทธิสืบพยานล่วงหน้าหลังฟ้องคดีได้ ตาม 173/2
วรรคสอง
-พยานผู้เชี่ยวชาญ
-พยานผู้เชี่ยวชาญ เดินเรียกว่า
พยานผู้ชำนาญการพิเศษ พยานต้องมาเบิกความประกอบด้วยวาจา
โดยทำเป็นหนังสือก่อนวันสืบไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่จำเลยไม่ติดใจซักค้าน
คู่ความไม่ได้อ้างในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ต้องส่งสำเนา เช่น ผู้แปลภาษา
ก็ไม่ต้องส่งสำเนา โดยการให้ทำความเห็นเป็นหนังสือหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล
-พยานเอกสาร ตาม 238-240
-พยานเอกสารไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้น
คำให้การชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นพยานเอกสาร เช่น ได้เบิกความว่า
ฟ้องโจทก์อยู่ในอายุความ สำเนาเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานรับรองก็รับฟังได้ เช่น
ประจำวันคดี
-คดีอาญาก็ต้องส่งสำเนาล่วงหน้าก่อนวันไต่สวนหรือสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ตาม 240 เพื่อให้โอกาสอีกฝ่ายได้ตรวจสอบ
โพยรับฟังเป็นพยานเอกสารไม่ได้ แต่รับฟังเป็นพยานวัตถุได้
เมื่อคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลชอบที่ไม่รับฟ้องเป็นพยาน โดยคดีอาญา คู่ความนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้
-พยานวัตถุ ตาม 241-242
-การไปตรวจพยานนอกศาลเป็นดุลพินิจศาลแม้ขอหลังจากแถลงหมดพยานก็ตาม
พยานวัตถุ เช่น โพยสลาก มีดของกลาง ชิ้นส่วนรถยนต์ ภาพถ่ายรถยนต์
-การตรวจพยานกลักฐานก่อนวันสืบพยานและการยื่นบัญชีระบุพยาน
ตาม 13/1
-วันตรวจพยานหลักฐานจะมีหรือไม่เป็นดุลพินิจศาล
ถ้ามีจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ยกเว้นมีเหตุอันสมควรหรือให้จำเลยต่อสู้คดี ถ้าโจทก์ไม่มาในวันดังกล่าว
ศาลต้องยกฟ้อง ตาม 173/2 วรรคสอง ประกอบ 166
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น