จับประเด็นค าพิพากษาฎีกา วิ.อาญา ที่น่าสนใจ
1. *****ฎีกาอ านาจสอบสวน (ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง(๔), วรรคสอง(ก) ) / มีปัญหา
ว่าจับกุมจ าเลยได้ในข้อหาหนึ่ง จะถือว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวเป็นพนักงานสอบสวน
ผู้รับผิดชอบอีกข้อหาหนึ่งหรือไม่? ตอบ ไม่เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในข้อหาอื่น เพราะจ าเลย
กระท าความผิดหลายกรรมซึ่งกระท าลงในท้องที่ต่างๆกัน โดยความผิดตามฟ้องข้อ (ก) (ข) และ
(ค) กระท าในท้องที่สถานีต ารวจภูธรต าบลบ้านเสด็จ ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ (ง) และ (จ) กระท าลงใน
ท้องที่สถานีต ารวจภูธรอ าเภอเมืองล าปาง พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอ านาจ
สอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง (๔) ร้อยต ารวจเอก บ. พนักงานสอบสวนสถานีต ารวจภูธร
ต าบลบ้านเสด็จจึงมีอ านาจสอบสวน ส่วนที่ จ. ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีต ารวจภูธรอ าเภอ
เมืองล าปาง และเจ้าพนักงานต ารวจสถานีต ารวจภูธรอ าเภอเมืองล าปางจับกุมจ าเลยเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม
๒๕๔๕ นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นเรื่องของการร้องทุกข์และจับกุมจ าเลยที่ได้กระท าช าเราผู้เสียหายเมื่อ
เดือนมกราคม ๒๕๔๕ โดยเหตุเกิดที่หมู่บ้าน ก. ต าบลพระบาท อ าเภอเมืองล าปาง จังหวัดล าปาง ดังนั้น
แม้จะมีการจับกุมจ าเลยได้ในท้องที่สถานีต ารวจภูธรอ าเภอเมืองล าปางก่อน แต่ก็เป็นการจับกุมจ าเลย
ส าหรับการกระท าผิดอาญาคนละกรรมกับคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าพนักงานสอบสวนสถานีต ารวจภูธร
อ าเภอเมืองล าปางเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙ วรรคสอง
(ก) เมื่อมีการจับกุมจ าเลยในท้องที่สถานีต ารวจภูธรต าบลบ้านเสด็จเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ร้อย
ต ารวจเอก บ. พนักงานสอบสวนสถานีต ารวจภูธรต าบลบ้านเสด็จจึงเป็นพนักงานสอบสวน
ผู้รับผิดชอบ การสอบสวนเป็นไปโดยชอบและพนักงานอัยการโจทก์มีอ านาจฟ้อง (ฎ.๖๒๕/๒๕๕๒ น.๗๑
ล.๑)
2. ***ฎีกาสิทธิน าคดีอาญามาฟ้องระงับ (ป.วิ.อ.มาตรา ๓๙(๔) ) / มีปัญหาว่าคดีก่อนศาล
อุทธรณ์ได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว คดีนี้ซึ่งเป็นความผิดอันเดียวกันจะระงับหรือไม่ ? ตอบ ระงับตาม ป.
วิ.อ.มาตรา ๓๙(๔) เพราะโจทก์คดีนี้กับโจทก์คดีก่อนของศาลชั้นต้น ต่างเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. และ
ต่างฟ้องจ าเลยทั้งสองในความผิดอันเดียวกัน ซึ่งคดีก่อนศาลอุทธรณ์มีค าพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธิน าคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๓๙(๔) แม้ว่า
โจทก์คดีนี้จะเป็นคนละคนกับโจทก์คดีก่อนและฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนก็ตาม มิฉะนั้น ก็จะกลายเป็นว่าจ าเลยทั้ง
สองถูกด าเนินคดีในการกระท าความผิดอันเดียวกันซ้ าสองอีก (ฎ.๑๑๓๒/๒๕๕๒ น.๑๑๔ ล.๑)
3. ฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง (ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕, ๑๙๕ วรรคสอง,
๒๒๕, ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๙) / มีปัญหาว่าจ าเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องในศาลล่าง แล้วจะมาฎีกาโต้แย้ง
ว่าเป็นเพียงผู้สนับสนุนได้หรือไม่? ตอบ ไม่ได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาล
ล่าง เพราะที่จ าเลยที่ ๑ ฎีกาว่ารับจ้างคนรู้จักกันบรรทุกไม้ของกลาง จึงมีความผิดเพียงสนับสนุนการ
กระท าความผิดของบุคคลอื่น และจ าเลยที่ ๒ ซื้อไม้ของกลางจากบุคคลอื่นเนื่องจากต้องการไม้เพื่อปลูก
สร้างที่อยู่อาศัย จึงเป็นเพียงการสนับสนุนให้เจ้าของไม้ของกลางเดิมกระท าความผิดนั้น เมื่อปรากฏว่า
จ าเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจ าเลยทั้งสองกระท าความผิดตามฟ้อง
โจทก์ ข้อเท็จจริงที่จ าเลยทั้งสองกล่าวอ้างในฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
และศาลอุทธรณ์ภาค ๖ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๙ ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ โจทก์
ฟ้องว่าจ าเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมปริมาตร ๓.๐๙ ลูกบาศก์
เมตร ซึ่งรวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตรอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง,
๗๓ วรรคสอง(๒) ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๖ ปรับบทลงโทษจ าเลยทั้งสองตามมาตรา ๕๘ วรรค
หนึ่ง, ๗๓ วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา
ในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่เพิ่มโทษจ าเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ.มาตรา
๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕ (ฎ.๑๔๓๓/๒๕๕๒ น.๑๒๐ ล.๑)
4. ฎีกาบรรยายฟ้องข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕๘(๕)) / มี
ปัญหาว่าค าฟ้องไม่มีรายละเอียดโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับการกระท าความผิดของจ าเลยว่า ร่วมยิงอย่างไร ใครเป็น
ผู้ยิง และผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกายด้วยอาวุธชนิดใด ชอบหรือไม่? ตอบ ฟ้องชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา
๑๕๘(๕) แล้วเนื่องจากเป็นเพียงรายละเอียดที่ต้องไปว่ากันในชั้นสืบพยาน เพราะโจทก์บรรยายฟ้อง
เกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งมูลเหตุจูงใจที่ท าให้จ าเลยทั้งสองกระท าความผิด โดยได้ระบุด้วย
ว่ามีผู้เห็นเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าขณะที่เกิดเหตุการฆ่ามีจ าเลยทั้งสองเท่านั้นที่อยู่ในที่เกิดเหตุ คนร้ายไม่มีทางที่
จะเป็นผู้อื่น แม้ไม่มีรายละเอียดโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับการกระท าความผิดของจ าเลยทั้งสองว่าร่วมยิง
อย่างไร ใครเป็นผู้ยิง และผู้ตายถูยิงที่ส่วนใดของร่างกาย ด้วยอาวุธปืนชนิดใด ทั้งไม่มีข้อยืนยันว่าจ าเลยทั้ง
สองร่วมกันยิงผู้ตายก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕๘(๕) ที่ประสงค์แต่เพียงให้มี
รายละเอียดพอสมควรที่จะท าให้จ าเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็พอแล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเรื่องที่ต้องไปว่า
กันในชั้นสืบพยาน เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอด จ าเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจ าเลยทั้งสอง
ว่า ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน (ฎ.๘๓/๒๕๕๒ น.๙ ล.๑)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น